Page 64 -
P. 64
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทักษะการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย
บางคนจะบอกเป็นสีเขียวอมน้ าเงิน บางคนจะบอกเป็นสีน้ าเงินอม
เขียว ใน “ไทยโทน” หรือสีโทนไทยมีสี “ขนคอนางนกยูง” กับสี
“ขนคอนกพิราบ” ซึ่งใกล้กับสีดังกล่าว โดยสีขนคอนางนกยูง
ใกล้เคียงกับ 浅孔雀蓝(น้ าเงินนกยูงอ่อน) ของจีน และสีขนคอ
นกพิราบใกล้เคียงกับสีน้ าเงินนกยูงของจีน ประโยคนี้แปลเป็น “วันนี้
หล่อนสวมเสื้อสีน้ าเงินนกยูง” เพื่อรักษาค าแบบจีนก็ได้ หรือ
เปลี่ยนเป็นสีขนคอนางนกยูงก็ได้ แต่อาจได้ภาพความคิดเป็นสีที่อ่อน
ลงกว่าในภาษาจีน หากแปลเป็นสีขนคอนกพิราบก็ได้ แต่ผู้อ่านที่เป็น
คนหนุ่มสาวอาจไม่เข้าใจ หากผู้แปลไม่ต้องการท าเชิงอรรถให้รุงรัง
เพราะเห็นว่าไม่ใช่เรื่องส าคัญ อาจแปลเป็น “วันนี้หล่อนสวมเสื้อสี
เขียวอมน้ าเงิน” ก็ได้ ประโยคนี้ ผู้เขียนได้น ามาให้ผู้เรียนในวิชาการ
แปลทดลองแปล ผลปรากฏว่าผู้เรียนกว่าครึ่งแปลผิดในลักษณะ
เดียวกับผู้แปลที่ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างถึง ซึ่งจากการวิเคราะห์พูดคุย
พบว่า กลุ่มผู้เรียนที่แปลผิดไม่คุ้นกับแนวคิดเรื่องวิธีการบอกชื่อสี
แบบโบราณ เช่น “ม่วงเม็ดมะปราง” “แดงเลือดนก” และผู้เรียน
กลุ่มนี้มีปัญหาความเคยชินกับการวางล าดับในภาษาไทยซึ่งเป็นภาษา
แม่ เมื่อพบค าใดมาก่อนแปลเช่นนั้นก่อน ท าให้แปลผิดเป็น “นกยูงสี
น้ าเงิน” หรือ “นกยูงสีฟ้า”
เห็นได้ชัดว่า ผู้แปลมือใหม่ต้องฝึกฝนการหาค านามที่เป็น
ประธานหรือกรรมให้พบก่อน ปัญหาของผู้แปลมักเกิดกับประโยคที่มี
ศัพท์ยากหรือมีประเด็นความรู้เฉพาะทางมาเกี่ยวข้อง
บทที่ 4 การแปลบทขยายและส่วนเสริม 57