Page 60 -
P. 60
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทักษะการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย
ส่วนหนังสือ “ทักษะการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย” นี้ไม่ใช่
หนังสือไวยากรณ์ ผู้เขียนจะกล่าวถึงเฉพาะการแปลบทขยายในส่วน
ที่เป็นปัญหาในการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทยเท่านั้น โดยแบ่งเป็น
เรื่องการแปลบทขยายนาม(定语)การแปลบทขยายภาคแสดง
(状语)และการแปลส่วนเสริม(补语)ตามไวยากรณ์จีน
ตัวอย่างที่ยกมาประกอบอาจจะซับซ้อนอยู่บ้างเพื่อให้เห็นปัญหา
ชัดเจน ตัวอย่างและการอธิบายส่วนหนึ่งในบทนี้มาจากงานวิจัยของ
ผู้เขียนที่ได้กล่าวถึงข้างต้น
การแปลบทขยายนาม
โดยปกติการแบ่งว่าอะไรคือบทขยายค านามและบทขยาย
ภาคแสดงจะดูที่ลักษณะของหน่วยหลัก ถ้าหน่วยหลักเป็นค านาม
ส่วนที่มาขยายคือบทขยายนาม ถ้าหน่วยหลักเป็นกริยาหรือคุณศัพท์
ส่วนที่มาขยายคือบทขยายภาคแสดง แต่เรื่องนี้หม่าเจิน
ศาสตราจารย์ประจ ามหาวิทยาลัยปักกิ่ง ได้อธิบายไว้ใน《简明实用
汉语语法教程》ว่าในภาษาจีนจะดูแค่ลักษณะของหน่วยหลักไม่ได้
เพราะในภาษาจีนต าแหน่งของค าที่อยู่มีความสัมพันธ์กับหน้าที่
กริยาหรือคุณศัพท์อาจท าหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของประโยค
ในกรณีนี้เช่นบทขยายนั้นๆ จึงจัดเป็น 定语 ส่วนค านามอาจท าหน้าที่
เป็นภาคแสดงได้ ในกรณีเช่นนี้บทขยายจึงจัดเป็นบทขยายภาคแสดง
(状语)ฉะนั้นการจัดประเภทต้องดูที่หน่วยหลักว่าท าหน้าที่ใดใน
ประโยคเป็นส าคัญ บทขยายนามในภาษาจีนเป็นได้ตั้งแต่ระดับค าไป
บทที่ 4 การแปลบทขยายและส่วนเสริม 53