Page 57 -
P. 57

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี


              กนกพร นุ่มทอง

                                        บทที่ 4



                          การแปลบทขยายและส่วนเสริม



                     ผู้เขียนได้เคยท าวิจัยในหัวข้อ “การศึกษาปัญหาการแปลบท

              ขยายและส่วนเสริมภาษาจีนจากภาษาจีนเป็นภาษาไทย” พบว่า

              สาเหตุของการแปลบทขยายและส่วนเสริมผิดที่ ท าให้ความหมาย
              ผิดพลาดนั้น มี 3 ประการคือ 1. ผู้แปลยึดติดกับไวยากรณ์

              ภาษาไทย มีแนวโน้มที่จะไม่วิเคราะห์โครงสร้างไวยากรณ์ของ
              ต้นฉบับให้ชัดเจนว่าส่วนใดเป็นหน่วยหลัก ส่วนใดเป็นบทขยาย ใน

              บางครั้ง อิทธิพลของไวยากรณ์ไทยก็ส่งผลท าให้วิเคราะห์ต้นฉบับ
              ผิดพลาด มีแนวโน้ม “เห็นอะไรก่อนแปลก่อน” ในกรณีที่บทขยาย

              ซับซ้อน ปรากฏหลายหน่วยพร้อมกัน หรือใช้ศัพท์ยาก ปัญหาการ

              แปลผิดจะมากขึ้นอีกเพราะผู้แปลเกิดความสับสนว่าส่วนใดขยายส่วน
              ใดบ้าง โดยเฉพาะในกรณีที่บทขยายมีส่วนเดียวแต่หน่วยหลักมี

              มากกว่าหนึ่งหน่วย 2. ในกรณีการแปลส่วนเสริม ผู้แปลมักมีปัญหา
              ด้านการวิเคราะห์ว่าส่วนเสริมนั้นเป็นส่วนเสริมประเภทใด และมี

              ความหมายอย่างไร 3. ปัญหาใหญ่ในการแปลบทขยายและส่วนเสริม
              ทุกประเภท คือการแปลตรงจากภาษาจีน โดยไม่ระมัดระวังว่า

              ถ้อยค าภาษาไทยที่ดูเผินๆ มีรูปภาษาตรงกับภาษาจีนนั้นมิได้มี
              ความหมายตรงกับต้นฉบับ ท าให้ความหมายในภาษาฉบับแปลนั้น





              50                                                         บทที่ 4 การแปลบทขยายและส่วนเสริม
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62