Page 58 -
P. 58

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                                                      ทักษะการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย

              คลาดเคลื่อนไปได้มาก งานวิจัยดังกล่าวได้เสนอวิธีการจัดการกับ

              ปัญหาการแปลบทขยายและส่วนเสริมจากภาษาจีนเป็นภาษาไทย ว่า

              สามารถกระท าได้โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับขั้นตอนการแปลที่กระท าต่อ
              ความหมายใน 3 ขั้นตอนที่ Albir และ Alves ได้สรุปไว้คือ เข้าใจ

              ความหมาย-แยกความหมายออกจากภาษา-กล่าวความหมายซ้ าเป็น
              อีกภาษาหนึ่ง ซึ่งเป็นขั้นตอนที่เข้าใจง่ายและสามารถยึดเป็นหลักใน

              การด าเนินงาน เพราะท าให้ไม่หลงแปลผิด แปลคลาดเคลื่อนหรือ
              กระท าเกินหน้าที่ของผู้แปล ทั้งนี้ผู้แปลจะมีทักษะการแปลภาษาจีน

              เป็นภาษาไทยที่ดีได้ ต้องอาศัย 3 เรื่องดังต่อไปนี้คือ 1. พัฒนา

              พื้นฐานทางไวยากรณ์ของตนให้ดีทั้ง 2 ภาษาเพราะเป็นปัจจัยส าคัญ
              ที่จะใช้ในการวิเคราะห์ต้นฉบับ 2. ฝึกฝนการวิเคราะห์แยะ

              ส่วนประกอบต่างๆ ของประโยคในต้นฉบับ ทั้งนี้ ในการค้นคว้า
              พจนานุกรม ต้องเข้าใจความหมายที่แท้ที่อยู่เบื้องหลังถ้อยค าที่ใช้ใน

              ภาษา ไม่ยึดติดกับรูปภาษาที่ปรากฏ 3. ฝึกการถ่ายทอดความหมาย
              โดย “ผละ” ออกจากภาษาต้นทางให้ได้ เรียบเรียงเป็นภาษาที่สื่อ

              ความในฉบับแปล

                     อันที่จริง ปัญหานี้การแปลบทขยายและส่วนเสริมจาก

              ภาษาจีนเป็นภาษาไทยจะลดลงได้มากถ้าผู้แปลมีพื้นฐานไวยากรณ์ที่
              ดีทั้งภาษาไทยและภาษาจีน เข้าใจเรื่องโครงสร้างของประโยคเป็น

              อย่างดี กล่าวได้ว่าผู้เรียนการแปลควรเรียนวิชาไวยากรณ์ก่อน ซึ่ง
              หากพิจารณาหลักสูตรต่างๆ ของมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนภาษาจีน

              เป็นวิชาเอกจะพบว่า มหาวิทยาลัยต่างๆ นิยมจัดวิชาการแปลไว้ในปี



              บทที่ 4 การแปลบทขยายและส่วนเสริม                                                          51
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63