Page 59 -
P. 59
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
กนกพร นุ่มทอง
สุดท้ายของหลักสูตร โดยหลายแห่งจัดวิชาไวยากรณ์เป็นวิชาที่บังคับ
ต้องผ่านก่อนวิชาการแปล ทั้งนี้เพราะเล็งเห็นว่าเมื่อผู้เรียนผ่านวิชา
ไวยากรณ์และโครงสร้างมาก่อน มีค าศัพท์สะสมมากพอ แยก
ส่วนประกอบของประโยคถูกต้อง จะไม่ค่อยสับสนหรือตีความ
ประโยคที่ซับซ้อนผิดพลาด
อย่างไรก็ดี ส าหรับผู้สนใจวิชาการแปลที่ไม่ได้ศึกษาวิชา
ไวยากรณ์ภาษาจีนมาในระดับมหาวิทยาลัย ก็พึงอ่านหนังสือเพิ่มเติม
เพื่อให้มีพื้นฐานที่แน่นในการแปล หนังสือที่ผู้เขียนแนะน าได้แก่
หนังสือ ไวยากรณ์จีนกลาง ของศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ประพิณ
มโนมัยวิบูลย์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจะท าให้ผู้อ่านมี
ความรู้เรื่องระบบไวยากรณ์ภาษาจีนอย่างชัดเจน เป็นพื้นฐานที่ดีใน
ด้านการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย ส่วนหนังสือไวยากรณ์ภาษาจีน
เล่มอื่นๆ ที่เผยแพร่ภายหลัง โดยเฉพาะหนังสือไวยากรณ์ที่แปลจาก
ภาษาจีนนั้นเป็นประโยชน์โดยตรงในเรื่องการใช้ภาษาจีน ส่วน
หนังสือไวยากรณ์ภาษาจีนที่เขียนด้วยภาษาจีนนั้น แนะน าหนังสือ
ไ ว ย า ก ร ณ์ ภ า ษ า จี น ชื่ อ 《简明实用汉语语法教程》ข อ ง
ศาสตราจารย์หม่าเจิน(马真)ส านักพิมพ์มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ซึ่ง
เขียนอธิบายเข้าใจง่ายและมีขนาดกะทัดรัด และถ้าผู้อ่านประสงค์จะ
ได้การวิเคราะห์ลงรายละเอียดและตัวอย่างประโยคจ านวนมาก
แนะน าหนังสือไวยากรณ์ภาษาจีนชื่อ《实用现代汉语语法》ของ
หลิวเย่ว์หฺวา พานเหวินอี๋ว์และกู้เหว่ย(刘月华、潘文娱、故韡)
ซึ่งตีพิมพ์โดยส านักพิมพ์ซังอู้อิ้นซูก่วน
52 บทที่ 4 การแปลบทขยายและส่วนเสริม