Page 62 -
P. 62

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                                                      ทักษะการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย

              ค านามนั้นมีได้หลายรูปแบบ เช่น แสดงลักษณะ 白马(ม้าขาว)

              แสดงสภาพ 水汪汪的眼睛(ตาสุกสกาวเป็นประกาย) แสดงความ

              เป็นเจ้าของ 我的妈妈(แม่ของฉัน) แสดงว่ามาจากวัสดุใด 木头桌
              子(โต๊ะไม้) แสดงประโยชน์ใช้สอย 画画用的铅笔(ดินสอที่ใช้วาด

              รูป) แสดงจ านวน 一件行礼(สัมภาระ 1 ชิ้น) แสดงสถานที่ 书包

              里的文具(เครื่องเขียนในกระเป๋าหนังสือ) แสดงเวลา 现在的情况
              (สภาพการณ์ตอนนี้) แสดงเนื้อหา 平等互利的精神(จิตวิญญาณ
              ของความเท่าเทียมและยังประโยชน์ซึ่งกันและกัน) มีลักษณะการ

              อธิบายกัน 我们全体师生(พวกเราคณาจารย์และนักเรียน)

                     ในเรื่องต าแหน่ง ภาษาจีนวางบทขยายไว้หน้าค านามซึ่งเป็น

              ค าหลัก ในขณะที่ภาษาไทยวางไว้หลังค านามซึ่งเป็นค าหลัก ซึ่งการ
              วางบทขยายนามไว้หลังนามในภาษาไทยนี้ท าให้ภาษาไทยมีลักษณะ

              ก ากวมว่าเป็นนามวลีหรือเป็นประโยค การแปลบทขยายนาม+นาม
              จากภาษาจีนเป็นภาษาไทยอาจเหมือนกันการแปลประโยค เช่น ค า

              ว่า 好心情 ค าว่า 好(ดี) เป็นบทขยาย 心情(อารมณ์) ซึ่งเป็น

              ค าหลัก รวมกันแล้วเป็นนามวลี ซึ่งเมื่อแปลเป็นภาษาไทย แปลว่า
              “อารมณ์ดี” ไม่ต่างกับการแปลประโยค 心情好。ซึ่งต้องแปลว่า

              “อารมณ์ดี”   หรือตัวอย่างอื่นก็เช่นกัน ค าว่า 晴天 ค าว่า
              晴(แจ่มใส) เป็นบทขยาย 天(ฟ้า อากาศ) ซึ่งเป็นค าหลัก รวมกัน

              แล้วแปลว่าท้องฟ้าแจ่มใส ไม่ต่างอะไรกับการแปลประโยค 天晴

                      วิธีที่ใช้บ่อยในการแปลบทขยายนามในภาษาจีนเป็น

              ภาษาไทยคือตั้งต้นที่ค านามซึ่งเป็นค าหลักแล้วแปลย้อนขึ้นมา แต่


              บทที่ 4 การแปลบทขยายและส่วนเสริม                                                          55
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67