Page 49 -
P. 49

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี


              กนกพร นุ่มทอง

              ยิ่งล้าหลังไปอีก แต่ก็แน่นอนว่างานใหญ่เช่นนี้ย่อมจะท าให้สมบูรณ์

              ได้ยาก ฉบับตีพิมพ์แรกๆ นั้นมีการแปลภาษาไทยจุดที่คลาดเคลื่อน

              อยู่พอสมควร บางจุดก็แก้ไขแล้วในปัจจุบัน บางจุดก็ยังมิได้แก้ไข
              ยกตัวอย่างค าที่มีค าว่า 热 ขึ้นต้น ค านี้เมื่อไปประสมกับค าอื่น

              พจนานุกรมจีน-ไทยเล่มนี้มักให้ความหมายว่า “เร่าร้อน” เช่น 热情
              ให้ความหมายไว้สองความหมายคือ  “ความเร่าร้อน ความอบอุ่นใจ

              ความกระตือรือร้น” กับ “แสดงความอบอุ่นใจ (ต่อ...) มีจิตใจเอื้อ
              อารี และรัก (ต่อ...)热心 คือ “มีความกระตือรือร้น มีความเร่าร้อน

              มีความรักต่องานอย่างเร่าร้อน”

                     ค าว่า “เร่าร้อน” ในภาษาไทย อันที่จริงแล้วแปลว่า “กลัด

              กลุ้มด้วยร้อนใจ”   (ราชบัณฑิตยสถาน, 2556: 1013) แต่
              ความหมายที่มักใช้ในปัจจุบัน มักมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องทางเพศ

              หรือความพิศวาส เมื่อมีผู้น าค าว่า “เร่าร้อน” มาแปล 热情 หรือ
              热心 ความหมายก็จะผิดเพี้ยนไปได้มาก ดังตัวอย่างนี้


                    1. 他热情地招待我们。

                    2. 她是个热心的人,对谁都好。

                     สิ่งที่ผู้เขียนพบในห้องเรียนทักษะภาษาจีนคือ มีผู้เรียนเปิด

              พจนานุกรมดังกล่าวแล้วเลือกแปลสองประโยคข้างต้นมาว่า “เขา

              ต้อนรับพวกเราอย่างเร่าร้อน” กับ “เขาผู้หญิงเป็นคนจิตใจเร่าร้อน ดี
              กับทุกคน” ท าให้เพื่อนในห้องหัวเราะเพราะนึกถึงค าว่า “เร่าร้อน”

              ในเชิงพิสวาส รวมทั้งขันค าว่า “เขาผู้หญิง” อันที่จริงควรแปลว่า



              42                                                     บทที่ 3 การแปลค า เรื่องพื้นฐานที่ต้องใส่ใจ
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54