Page 36 -
P. 36

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                                                      ทักษะการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย

              หรืออุปกรณ์เครื่องเขียนอื่น  หากอยู่ในสถานการณ์การประชุมหรือ

              สถานการณ์ทั่วไป แปลว่าปากกาก็น่าจะถูกต้อง อาจไม่ต้องลง

              รายละเอียดว่าให้เฉพาะเจาะจงว่าเป็นปากกาประเภทใด แต่ถ้าอยู่ใน
              ห้องเรียนประถมศึกษา อาจหมายถึงดินสอหรือสีเทียนก็ได้ ถ้าอยู่ใน

              ห้องเรียนพู่กันจีน ก็เป็นไปได้ว่าหมายถึงพู่กันจีน ซึ่งหากอ่านต่อไป
              อาจปรากฏค าที่จะให้เชื่อมโยงและตีความได้เช่น น้ ายาลบค าผิด

              ยางลบ แต่ถ้าไม่มีค าใดหรือบริบทใดช่วยให้ตัดสินใจได้แม่นย า ผู้
              แปลก็ต้องคาดเดาและตัดสินใจเลือกค าแปลที่เป็นไปได้มากที่สุด

              เห็นได้ชัดว่าการจะวิเคราะห์ตีความว่าหมายถึงสิ่งใดกันแน่อาจต้อง

              พิจารณาบริบทแวดล้อมที่มากกว่าประโยคที่ค าๆ นั้นปรากฏ

                  ประโยคที่ 2  我不喜欢吃羊肉。

                  羊 เป็นค าเรียกรวมของทั้งแพะ(山羊)และแกะ(绵羊)

              ภาษาจีนเรียกรวมกัน หากจะระบุให้ชัดจึงใช้ค าว่า 山 และ 绵 มา
              ก ากับ  ในขณะที่ภาษาไทยแยกค าตั้งแต่แรก ประโยคนี้จะแปลว่า

              “ฉันไม่ชอบกินเนื้อแพะ” หรือ “ฉันไม่ชอบกินเนื้อแกะ” ก็เป็นไปได้
              ทั้งคู่ จีนนิยมกินเนื้อแพะ ถ้าสถานการณ์นี้เกิดขึ้นในประเทศจีน อยู่

              ริมถนนที่มีเนื้อแพะเสียบไม้ย่างขายหรืออยู่ในร้านหม้อไฟที่มีเนื้อแพะ

              ซอยบางๆ ส าหรับจิ้มจุ่มก็ต้องแปลว่า “ฉันไม่ชอบกินเนื้อแพะ” แต่
              หากเกิดขึ้นในร้านอาหารซึ่งมีเมนูซี่โครงแกะย่าง ก็ต้องแปลประโยค

              นี้ว่า “ฉันไม่ชอบกินเนื้อแกะ” แต่ถ้าไม่มีสถานการณ์แวดล้อมที่ท าให้
              ตัดสินใจได้ชัดเจน จะพูดรวมเป็น “ฉันไม่ชอบกินเนื้อแพะเนื้อแกะ”

              ก็อาจจะได้ แต่ก็อาจไม่ถูกต้องเสมอไป เพราะคนที่ไม่ชอบกลิ่นของ


              บทที่ 3 การแปลค า เรื่องพื้นฐานที่ต้องใส่ใจ                                                      29
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41