Page 37 -
P. 37

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี


              กนกพร นุ่มทอง

              เนื้อแกะ อาจจะทนกลิ่นของเนื้อแพะได้ก็เป็นได้ ตัวอย่างเช่นผู้เขียน

              เองซึ่งชอบกินเนื้อแพะในหม้อไฟหมาล่า แพะตุ๋นยาจีน เนื้อแพะ

              เสียบไม้ย่าง แต่ไม่สามารถกินซี่โครงแกะย่างในร้านอาหารตะวันตก
              ได้

                  ปัญหาของแพะและแกะยังมีเรื่องของขนอีก แกะเป็นสัตว์ที่มีขน

              ยาว นิยมน าขนมาใช้อุตสาหกรรมสิ่งทอ 羊毛衫 ต้องแปลว่าเสื้อไหม
              พรมขนแกะ จะแปลเป็นขนแพะไม่ได้ อย่างไรก็ดี ในความเป็นจริง

              羊毛衫 อาจไม่ได้ท าจากขนแกะ แต่ท าจากขนสัตว์อื่น หรือเส้นใย

              สังเคราะห์ก็เป็นได้ แต่ชาวจีนก็ยังเรียกว่า 羊毛衫 อยู่นั่นเอง
              กระนั้นก็ตาม ไม่ใช่ว่าเมื่อพบค าว่า 羊毛 แล้วจะต้องแปลเป็นขนแกะ

              เสมอไป จีนมีพู่กันที่เรียกว่า 羊毫笔 ค านี้จะแปลเป็นพู่กันขนแกะ
              ไม่ได้ ต้องแปลเป็นพู่กันขนแพะ เพราะขนแกะนิ่มเกินไป ขนแพะที่

              น ามาใช้ท านั้นจะเป็นขนจากเคราหรือหางของแพะ ดูดหมึกได้ดีและ
              ทนทาน


                  ประโยคที่ 3《牛郎织女》是中国古代著名的民间故事。

                  ผู้ที่สนใจวัฒนธรรมจีนจะรู้จักนิทานพื้นบ้านเรื่อง 牛郎织女

              เป็นอย่างดี ในประเทศไทยนิยมแปลชื่อว่า “หนุ่มเลี้ยงวัวกับสาวทอ
              ผ้า” ประโยคนี้แปลได้ว่า “หนุ่มเลี้ยงวัวกับสาวทอผ้าเป็นนิทาน

              พื้นบ้านที่มีชื่อเสียงในสมัยโบราณของจีน” ซึ่งก็เป็นค าแปลที่ถูกต้อง
              ผู้เขียนเองก็เคยชินกับค าว่า “หนุ่มเลี้ยงวัวกับสาวทอผ้า” มาตลอด

              จนกระทั่งมีครั้งหนึ่งได้เห็นผู้แปลว่า “เด็กเลี้ยงควายกับเทพธิดาสาว




              30                                                     บทที่ 3 การแปลค า เรื่องพื้นฐานที่ต้องใส่ใจ
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42