Page 195 -
P. 195
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
กนกพร นุ่มทอง
เกิดความสับสนระหว่างหน่วยเสียง แต่หากเป็นงานด้านวรรณคดี
อาจไม่จ าเป็นต้องแยกเสียง zh ch sh กับ z c s ออกจากกันก็ได้
ตัวอย่างเช่น ผู้เขียนได้เลือกใช้ “เกณฑ์การถ่ายถอดเสียงภาษาจีน
แมนดารินด้วยอักขรวิธีไทย” ในการแปลบันทึกเกี่ยวกับอาณาจักร
ล้านนาในประวัติศาสตร์จีนด้วยเหตุผลว่าท้ายเกณฑ์ มีการจัดท า
ตาราง “หน่วยพยางค์ภาษาจีนแมนดาริน สะกดด้วยอักขรวิธีไทย”
แยกทุกเสียง ไล่ตามวรรณยุกต์ต่างๆ จึงเป็นการง่ายในการค้นคว้า
และไม่เป็นปัญหาในการผันเสียงวรรณยุกต์ แต่ได้ใช้ข้ออนุโลมต่างๆ
ที่ระบุไว้ในเกณฑ์ เนื่องจากงานแปลบันทึกเกี่ยวกับอาณาจักรล้านนา
ในประวัติศาสตร์จีน ผู้วิจัยต้องค านึงผู้อ่านงานประวัติศาสตร์ที่ไม่รู้
ภาษาจีน จึงปรับการถ่ายถอดเสียงให้ง่ายลงตามหลักเกณฑ์ข้อ 3.2
ในเกณฑ์ดังกล่าวซึ่งอนุโลมให้ถอดเสียง zh ch sh เป็น จ; ช/ฉ; ส/
ซ โดยไม่ขีดเส้นใต้ก็ได้ เช่น ถอดเสียงว่า “หยวนสื่อ” แทนที่จะถอด
ว่า “หยวนสื่อ” (กนกพร, 2563a, 2563b)
เมื่อผู้แปลตัดสินใจเลือกเกณฑ์ที่จะใช้ได้แล้ว ในการแปลงาน
ใดๆ ควรจัดท าตารางเทียบชื่อเฉพาะภาษาจีนกับการถ่ายถอดเสียงไว้
ให้ชัดเจน ตารางนี้มีไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ตนเองผิดพลาด ถ่ายถอด
เสียงชื่อเฉพาะเดียวกันเป็นคนละอย่าง ชื่อเฉพาะใดที่ตัดสินใจ
เลือกใช้ตามความนิยม ไม่เลือกถอดเสียงตามภาษาจีนกลาง เช่น
ยูนนาน เสฉวน ไทเฮา อ๋อง ฯลฯ ก็ให้ท าตารางไว้ด้วย เพื่อให้มี
ความรัดกุมในการผลิตงานแปล ท าให้งานนั้นมีความสมบูรณ์สูงสุด
เท่าที่จะท าได้
188 บทที่ 8 การทับศัพท์หรือการถ่ายถอดเสียงภาษาจีนเป็นภาษาไทย