Page 192 -
P. 192

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                                                      ทักษะการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย


              เส้นใต้หรือใช้วิธีการอื่นหรือไม่ เช่น “เชริ่ง” “เซริ่ง”  “เฉิ้ง” เฉริ้ง”

              “เสิ้ง” “เสริ้ง” “เซิ่ง” “เสิ้ง” ฯลฯ

                     จะเห็นได้ว่าปัญหาในการถ่ายถอดเสียงภาษาจีนเป็น

              ภาษาไทยนั้นมีมาก ปัญหาส่วนหนึ่งมาจากความแตกต่างของ
              ภาษาจีนและภาษาไทย อีกส่วนหนึ่งมาจากความแม่นในหลัก

              ภาษาไทยของผู้แปล หากผู้แปลไม่ศึกษาเกณฑ์การทับศัพท์ ก็เป็น
              การยากที่จะรับประกันได้ว่าจะถอดเสียงประเภทเดียวกันไว้อย่าง

              เดียวกันในชิ้นงาน และที่ถ่ายถอดเสียงไปตามที่ตนเอง “เห็นว่า”

              ตรงกับเสียงภาษาจีนที่ตนได้ยิน นั้น ที่แท้แล้ว “ตรง” จริงหรือไม่
              (ซึ่งในความเป็นจริงเป็นไปไม่ได้ที่จะถ่ายทอดเสียงข้ามภาษามาได้

              โดยสมบูรณ์จริงๆ ) แค่ประเด็นว่าจะท าให้ผู้อ่านงานของตนนั้น อ่าน
              ออกเสียงวรรณยุกต์มาไม่เพี้ยนจากที่ผู้แปลคาดหวังก็เป็นปัญหาแล้ว


                     ฉะนั้น ค าถามที่ว่าไม่ต้องศึกษาเกณฑ์ใด เลือกเขียนตามที่ผู้
              แปลเห็นว่า “ตรง” กับเสียงภาษาจีนที่ตนได้ยินได้หรือไม่ ค าตอบคือ

              หากต้องการให้งานมีมาตรฐาน และลดความเสี่ยงที่จะให้เสียงที่ถ่าย
              ถอดออกมาผิดเพี้ยนไปจากที่ผู้แปลคาดหวัง ก็ควรจะใช้เกณฑ์ใดสัก

              เกณฑ์หนึ่ง

                      ส าหรับค าถามที่ว่า แล้วจะเลือกใช้เกณฑ์ใดดี ต้องทราบ

              ก่อนว่าปัจจุบันประเทศไทยมีเกณฑ์ถ่ายถอดเสียงภาษาจีนเป็น
              ภาษาไทยของทางราชการอยู่ 2 เกณฑ์ คือ “เกณฑ์การถ่ายถอด

              เสียงภาษาจีนแมนดารินด้วยอักขรวิธีไทย” โดยคณะกรรมการสืบค้น




              บทที่ 8 การทับศัพท์หรือการถ่ายถอดเสียงภาษาจีนเป็นภาษาไทย                                  185
   187   188   189   190   191   192   193   194   195   196   197