Page 194 -
P. 194

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                                                      ทักษะการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย


                     1. ผู้จ้างงานหรือผู้สั่งให้ท างานนั้นได้ก าหนดกฎเกณฑ์ไว้

              อย่างไรบ้าง

                     2. งานที่ตนแปลนั้นผลิตไปเพื่อใครและเพื่อวัตถุประสงค์ใด

              ใครคือผู้อ่านงานนั้น

                     ในกรณีที่ผู้แปลผลิตงานแปลให้กับหน่วยงานที่มีการแปลเป็น

              ประจ า มักจะมีการก าหนดไว้ชัดเจนว่าให้ใช้เกณฑ์ใด ยกตัวอย่าง
              การแปลนวนิยายจีนเป็นภาษาไทย บางส านักพิมพ์จะมีเกณฑ์การ

              ถ่ายถอดเสียงของตนเองโดยปรับเกณฑ์ที่ทางราชการก าหนดไว้ให้
              ง่ายลง ถ้าเป็นเช่นนี้ ผู้แปลต้องเลือกใช้ตามที่ส านักพิมพ์ก าหนด แต่

              บางส านักพิมพ์ไม่ได้ก าหนดเกณฑ์ไว้ตายตัว หากแต่ให้เป็นสิทธิของ

              ผู้แปลในการเลือกใช้ ในกรณีนี้ผู้แปลสามารถเลือกใช้เกณฑ์ใดเกณฑ์
              หนึ่งตามที่เห็นสมควร และอาจอนุโลมในบางส่วนตามที่เกณฑ์นั้นๆ

              ระบุไว้ เช่น ค าที่แพร่หลายในภาษาไทยใช้ตามความนิยมเดิม
              สอดคล้องกับเกณฑ์ที่ทั้งสองระบุไว้ เช่น ยูนนาน ปักกิ่ง เสฉวน

              ฮ่องเต้ ฮองเฮา เพื่อเป็นการอ านวยความสะดวกแก่ผู้อ่าน

                     ปัจจัยส าคัญปัจจัยหนึ่งที่ผู้แปลควรค านึงถึงคืองานที่ตนผลิต

              ไปนั้นผลิตไปเพื่อใคร มีวัตถุประสงค์ใด ใครคือผู้อ่านงานนั้น เมื่อ
              ค านึงถึงสิ่งต่างๆ เหล่านี้ จะช่วยให้ตัดสินใจเลือกเคร่งครัดตามเกณฑ์

              ใดเกณฑ์หนึ่งหรือเลือกอนุโลมในบางประเด็นได้ ตัวอย่างเช่น งาน
              วิทยานิพนธ์ทางสายภาษาที่จ าเป็นต้องมีการทับศัพท์หรือถ่ายถอด

              เสียง อาจต้องเคร่งครัดตามเกณฑ์ทุกประการเพราะไม่ต้องการให้




              บทที่ 8 การทับศัพท์หรือการถ่ายถอดเสียงภาษาจีนเป็นภาษาไทย                                  187
   189   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199