Page 137 -
P. 137

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี


              กนกพร นุ่มทอง

              ลักษณะนี้เป็นการบอกว่าท าอย่างไรจึงจะดี อาจพิจารณาแปลว่า “...

              ดีกว่า” ประโยคนี้แปลได้ว่า “ฉันว่าอย่าไปเลย (ดีกว่า) ฟ้ามืดแล้ว

              อย่าว่าแต่ข้างนอกฝนยังตกอยู่เลย” “ฉันว่าอย่าไปเลย ค่ าแล้ว แถม
              ข้างนอกยังฝนตกอยู่ด้วย”

                     ประโยคที่ 7 他不是去图书馆,就是在家里看书。


                     ประโยคนี้เป็นประโยคที่แสดงสภาพการณ์ที่ให้เลือกสิ่งใดสิ่ง
              หนึ่ง มีค าเชื่อม 不是……就是…… ปรากฏในสองสิ่งที่ให้เลือก

              ซึ่งจริงๆ แล้วในประโยคนี้แสดงว่าถ้าไม่ได้เป็นแบบหนึ่งก็เป็นอีกแบบ
              หนึ่ง ไม่สามารถแปลตรงๆ เป็น “ไม่ใช่...ก็เป็น/คือ...” “เขาไม่ใช่ไป

              ห้องสมุด ก็คืออาจหนังสืออยู่ที่บ้าน” อาจต้องเพิ่มค าเชื่อม “ถ้า” ไว้

              หน้าประโยค ประโยคนี้ควรแปลเป็น “ถ้าเขาไม่ได้ไปห้องสมุด ก็อ่าน
              หนังสืออยู่ (กับ) บ้าน”

                     จะเห็นได้ว่าการแปลค าเชื่อมในประโยคความรวม ต้องรู้จัก

              ย้ายต าแหน่งค าเชื่อมและปรับค าเชื่อมให้เหมาะสม ตัดทอนค าเชื่อม
              ที่ไม่จ าเป็นในภาษาไทยและเพิ่มค าเชื่อมมาเพื่อเน้นความสัมพันธ์ใน

              ประโยค




              การแปลประโยคความรวมที่ประกอบด้วยประโยคหลักกับประโยค
              รอง








              130                                                            บทที่ 6 การแปลประโยคความรวม
   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142