Page 132 -
P. 132

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                                                      ทักษะการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย


              6. แสดงว่ากล่าวโดยรวมและแยกกล่าว  เช่น 青年学生都要努力
              做到三好:身体好,学习好,工作好。(นักเรียนที่อยู่ใน

              วัยรุ่นต้องพยายามท าให้ดีสามเรื่อง สุขภาพดี เรียนดี ท างานดี
              (马真, 2017: 88-91)

                    ผู้เขียนพบว่าปัญหาหลักของผู้เรียนหรือผู้แปลประโยคความ

              รวมประเภทนี้เป็นภาษาไทย อยู่ที่การจัดการกับค าเชื่อมและค าอื่นที่
              แสดงความสัมพันธ์ของประโยคที่ปรากฏในประโยคความรวม โดยมี

              4 ลักษณะคือ

                     1.เรียงล าดับค าเชื่อม/ค าประเภทอื่นที่แสดงความสัมพันธ์กับ

              ประธานตามประโยคภาษาจีน ไม่ย้ายค าเชื่อมไปไว้ในต าแหน่งที่

              เหมาะสม

                     2.แปลค าเชื่อม/ค าประเภทอื่นที่แสดงความสัมพันธ์ตรงตัว
              โดยไม่รู้จักลดทอนหรือปรับให้เข้ากับภาษาไทย


                     3.ไม่รู้จักเติมค าเชื่อม/ค าประเภทอื่นที่แสดงความสัมพันธ์ใน
              จุดที่ไม่มีในต้นฉบับ


                     4.ใช้ค าเชื่อม/ค าประเภทอื่นที่แสดงความสัมพันธ์ไม่เป็นโดย
              สิ้นเชิง

                     ลักษณะแรกเกิดขึ้นในกลุ่มนักแปลอาชีพที่ติดโครงสร้างรูป

              ประโยคภาษาจีน ลักษณะที่ 2 และ 3 เกิดในกลุ่มผู้แปลมือใหม่ที่มี

              ความระมัดระวังมาก เกรงว่าจะแปลผิด ลักษณะที่ 4 เกิดขึ้นในกลุ่ม
              ผู้เรียนรุ่นใหม่ที่ไม่นิยมอ่านหนังสือเล่ม


              บทที่ 6 การแปลประโยคความรวม                                                             125
   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137