Page 135 -
P. 135

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี


              กนกพร นุ่มทอง

              “(ถ้า) ไม่...ก็...” ประโยคลักษณะนี้ ผู้เขียนพบว่าผู้เรียนวิชาทักษะ

              ภาษาจีนมักจะลังเลเล็กน้อยในการเลือกค าเชื่อมแต่ไม่ค่อยแปลผิด

              ประโยคนี้แปลได้ว่า “สถานีรถไฟใต้ดินไกลขนาดนั้น ถ้าไม่ก็นั่งรถไป
              ก็นั่งแท็กซี่ไป (ถ้า) เดินไปเหนื่อยเกิน”


                     ประโยคที่ 3 你是真的不懂,还是装糊涂?

                     ประโยคนี้เป็นประโยคที่แสดงสภาพการณ์ที่ให้เลือกสิ่งใดสิ่ง
              หนึ่ง มีค าเชื่อม 是……还是…… (ใช่...หรือว่า...) ปรากฏในสอง

              สิ่งที่ให้เลือก ซึ่งอาจไม่ใช้ค าเชื่อม 是  ในประโยคหน้าก็ได้ เมื่อแปล
              เป็นไทย ต้องตัดค าเชื่อม 是 ทิ้ง เหลือเพียงค าเชื่อมหลังซึ่งแปลได้

              ว่า “หรือ” “หรือว่า” เป็น “คุณไม่เข้าใจจริงๆ หรือว่าแกล้งท าสับสน”

              หรือ “คุณไม่เข้าใจจริงๆ หรือแกล้งมึน”

                     ประโยคที่ 4 他宁愿饿死,也不向家人开口求助。

                     ประโยคนี้เป็นประโยคที่แสดงสภาพการณ์ที่ให้เลือกสิ่งใดสิ่ง

              หนึ่ง มีค าเชื่อม 宁愿……也…… (ยอม...ก็...) ปรากฏในสองสิ่งที่
              ให้เลือก ค าว่า 宁愿 ในประโยคนี้ ผู้เขียนเคยให้ผู้เรียนทดลองแปล

              มีผู้เรียนส่วนหนึ่งแปลว่า “เต็มใจ” “ยินดี” “ปรารถนา” ซึ่งก็ไม่ผิด
              แต่อาจไม่เหมือนกันทีเดียว ค าว่า “ยอม” สามารถสื่อถึงภาวะใน

              ส านวน “ยอมหักไม่ยอมงอ” การ “หัก” และการ “งอ” ไม่ใช่สิ่งที่ผู้

              เลือกอยากจะเลือกด้วยความยินดี ปรารถนาหรือเต็มใจจริงๆ ทั้งคู่
              แต่เมื่อจ าเป็นต้องเลือก ก็เลือกสิ่งที่ขัดความประสงค์ของตนน้อยกว่า

              เช่นเดียวกับการเลือก “อดตาย” ดีกว่าจะไปขอความช่วยเหลือจาก



              128                                                            บทที่ 6 การแปลประโยคความรวม
   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140