Page 134 -
P. 134

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                                                      ทักษะการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย

              ติดกับค าว่า 边 ซึ่งมีความหมายว่า “ด้าน” โดยไม่ได้คิดว่าใน

              ภาษาไทยมีค าเชื่อมที่ตรงกับค านี้คือ ...ไปพลาง ...ไปพลาง

              นอกจากนี้ ผู้แปลที่ติดภาษาจีนยังวางค าเชื่อมไว้หน้าภาคแสดง
              แทนที่จะย้ายมาวางไว้หลังภาคแสดงตามหลักภาษาไทย ในด้านการ

              แปลค าศัพท์ มีประเด็นที่เป็นปัญหาอยู่ 3 จุด คือ “พวกเด็กๆ ”
              “นิทาน” และ “วัยรุ่น” อันที่จริงเราไม่จ าเป็นต้องแปลค าว่า 们 ด้วย

              ค าว่า “พวก...” เสมอไป หากค านั้นเป็นพหูพจน์อยู่แล้ว เช่น ค าว่า
              我们 สามารถแปลว่า “เรา” ได้ โดยไม่จ าเป็นต้องแปลว่า “พวกเรา”

              กรณีนี้ใช้ค าว่า “เด็กๆ ” แสดงให้เห็นอยู่แล้วว่ามีเด็กหลายคน

              สามารถตัด “พวก” ทิ้ง ค าว่า 故事 มีความหมายได้ทั้งนิทานและ
              เรื่องราว ในที่นี้เป็นเรื่องของตนเอง มิได้เป็นนิทาน ส่วนค าว่า 年轻

              ไม่เท่ากับ “วัยรุ่น” แต่หมายถึงวัยที่ยังหนุ่มยังสาว ยังอายุน้อย ซึ่งมี
              ช่วงเวลาที่กว้างกว่าช่วงวัยรุ่น นอกจากนี้ยังสามารถเติมค าว่า “ก็”

              ในประโยคหลัง เพื่อเน้นความสัมพันธ์ และเติมค าว่า “ฟัง” ไว้เพื่อ
              ระบุเป้าหมายของการเล่า ท าให้ประโยคไม่ห้วนจนเกินไปนัก

              ประโยคนี้แปลได้เป็น “เขาพาเด็กๆ เดินเล่นไปพลางก็เล่าเรื่องสมัย
              ตนเองยังหนุ่มให้พวกเขาฟัง (ไปพลาง)”


                     ประโยคที่ 2 地铁站那么远,要么坐车去,要么打的
              去,走着去太累了。


                     ประโยคนี้เป็นประโยคที่แสดงสภาพการณ์ที่ให้เลือกสิ่งใดสิ่ง
              หนึ่ง มีค าเชื่อม 要么  ปรากฏในสองสิ่งที่ให้เลือก ในภาษาไทยไม่

              สามารถแปลด้วยค าเชื่อมเดียวกันได้ ต้องใช้ค าเชื่อมเป็นคู่ เช่น


              บทที่ 6 การแปลประโยคความรวม                                                             127
   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139