Page 136 -
P. 136

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                                                      ทักษะการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย

              คนที่ตนไม่ต้องการให้ช่วย เป็นความขัดแย้งที่เกิดจากทิฐิมานะของ

              ตน หากแปลเป็น “เขายินดีอดตาย ก็ไม่เอ่ยปากขอความช่วยเหลือ

              จากคนในครอบครัว” อรรถรสของภาษานั้นไม่เข้มข้นเท่าใช้ค าว่า
              “ยอม/ยอมที่จะ...ก็...” เป็น “เขายอมอดตาย ก็ไม่เอ่ยปากขอความ

              ช่วยเหลือจากคนในครอบครัว” ทั้งนี้ ผู้แปลสามารถเพิ่มค าว่า
              “ยอม” ในประโยคหลังเพื่อเน้นสภาพการณ์ตรงกันข้ามที่ต้องเลือก

              เป็น “เขายอมอดตาย ก็ไม่ยอมเอ่ยปากขอความช่วยเหลือจากคนใน
              ครอบครัว” จะรักษาอารมณ์ความรู้สึกในต้นฉบับได้ดียิ่งขึ้น


                     ประโยคที่ 5 我不是不愿意去,而是真的不能去。

                     ประโยคนี้เป็นความสัมพันธ์คู่ตรงกันข้าม ใช้ค าเชื่อม 不

              是……而是…… ซึ่งแปลได้ว่า “ไม่ใช่..แต่คือ...” ทั้งนี้สามารถปรับ
              ค าเชื่อมให้เหมาะกับประโยคได้หลายอย่าง เช่น “ไม่ได้...แต่...”

              “ไม่ใช่ว่า...แต่...” ประโยคนี้แปลได้ว่า “ฉันไม่ได้ไม่อยากไป แต่ไป
              ไม่ได้จริงๆ ” หรือ “ไม่ใช่ว่าฉันไม่อยากไป แต่ไปไม่ได้จริงๆ ”


                     ประโยคที่ 6 我看还是别走了,天已经黑了,再说外
              面还下着雨呢。

                     ประโยคนี้แสดงว่าประโยคย่อยที่ตามมาภายหลังคืบหน้ากว่า

              ประโยคที่มาก่อนหน้า มีค าเชื่อม 再说 ซึ่งไม่สามารถแปลตรงตัวว่า

              “พูดอีกว่า” แต่สามารถแปลเป็น “อย่าว่าแต่” “มิหน าซ้ า” “แถม
              (ยัง)” ส่วนวิเศษณ์ 还是 ในประโยคแรกนั้น มักมีผู้แปลค าว่า 还是

              ว่า “ยังคง” ในทุกที่ ซึ่งไม่ชัดเจนนัก เพราะในภาษาจีน 还是 ใน



              บทที่ 6 การแปลประโยคความรวม                                                             129
   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141