Page 51 -
P. 51

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                 พจนานุกรมศัพท์ปุ๋ยและธาตุอาหารพืช




               adenosine  triphosphate  อะดีโนซีนไตรฟอสเฟต  :  สารอินทรีย์ที่เป็นแหล่งพลังงานหลักของเซลล์
                     ชื่อย่อ ATP ซึ่งมีรายละเอียดใน 3 ประเด็น คือ องค์ประกอบของ ATP ผลจากการสลาย ATP และ
                     การใช้พลังงานที่ได้จาก ATP ดังนี้ องค์ประกอบ: หนึ่งโมเลกุลมีไนโตรเจน 5 อะตอมและฟอสฟอรัส
                     3 อะตอม (ภาพที่ A3) สารที่เป็นองค์ประกอบหลักมี 2 ชนิด คือ (1) อะดีนีน (เบส) กับไรโบส

                     (น�้าตาล) รวมกันเรียกว่าอะดีโนซีน และ (2) ฟอสเฟต 3 หมู่ ผลจำกกำรสลำย: เมื่อ ATP ผ่าน
                     กระบวนการไฮโดรไลซิสด้วยเอนไซม์ ATPase จะได้ อะดีโนซีนไดฟอสเฟต (ADP) และฟอสเฟต
                     ไอออน (H PO ) เนื่องจาก ATP มีพลังงานสูงกว่า ADP ดังนั้นการเปลี่ยนจาก ATP เป็น ADP จึง
                                 -
                             2
                                4
                     ปล่อยพลังงานออกมา 7.3 กิโลแคลอรี/โมล กำรใช้พลังงำน: เซลล์ใช้พลังที่ถูกปลดปล่อยออกมา
                     ในปฏิกิริยา 3 อย่าง คือ (1) ให้พลังงานก่อกัมมันต์ (activation energy) แก่ปฏิกิริยาดูดกลืน
                     พลังงาน  (endergonic  reaction)  (2)  การเคลื่อนย้ายโมเลกุลหรือไอออนผ่านเยื่อ  และ  (3)
                     การเคลื่อนไหวของเซลล์หรือบางส่วนของเซลล์  แมกนีเซียมมีบทบาทส�าคัญในปฏิกิริยาที่ใช้  ATP
                                2+
                     เนื่องจาก  Mg เกาะกับ  ATP  ได้สารเชิงซ้อน  ATP-Mg  ซึ่งจับกับบริเวณแอกทีฟ  (active  site)
                     ของเอนไซม์ ATPase ได้พอดี




















                      ภำพที่ A3 อะดีโนซีนไตรฟอสเฟต 1 โมเลกุลมีฟอสฟอรัส 3 อะตอมและไนโตรเจน 5 อะตอม
                                  ที่มา: https://www.expii.com/t/atp-adenosine-triphosphate.



               adequate zone; adequate range ช่วงเพียงพอ : ช่วงความเข้มข้นของธาตุอาหารในเนื้อเยื่อดัชนี
                     (index  tissue)  ของพืช  ที่สูงกว่าความเข้มข้นวิกฤติิิิ  (critical  concentration)  ด้านขาดแคลน
                     แต่ต�่ากว่าความเข้มข้นวิกฤติิิิระดับเป็นพิษ  จึงเพียงพอส�าหรับการเติบโตหรือการให้ผลผลิตสูงสุด
                     (ภาพที่ A4) หากเลยจุดเริ่มที่ได้ผลผลิตสูงสุดไป เรียกว่าช่วงฟุ่มเฟือย (luxury range) เนื่องจาก

                     สิ้นเปลืองธาตุอาหารโดยไม่เพิ่มผลผลิต  ช่วงต่อระหว่างช่วงขาดแคลนกับช่วงเพียงพอ  เรียกว่า
                     “ช่วงเปลี่ยนสภาพ (transition zone)” [ดู deficient zone (range), transition zone (range)
                     และ toxic zone (range) ประกอบ]



                                                                               40 ปี       51
                                                           สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56