Page 49 -
P. 49
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พจนานุกรมศัพท์ปุ๋ยและธาตุอาหารพืช
activated sewage sludge ตะกอนน�้ำเสียจำกกำรเร่งสลำย : ตะกอนน�้าเสียซึ่งได้รับออกซิเจน
อย่างต่อเนื่อง จึงมีประชากรและกิจกรรมของแบคทีเรียและจุลินทรีย์ชนิดอื่น ๆ ที่ใช้ออกซิเจนสูง
ใช้ตะกอนน�้าเสียประเภทนี้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้ หากปริมาณโลหะหนักที่เป็นพิษเจือปนอยู่ต�่ากว่าเกณฑ์
ของปุ๋ยอินทรีย์
activation energy พลังงำนก่อกัมมันต์ : พลังงานกระตุ้นที่ต้องเพิ่มเข้าไป เพื่อท�าให้ปฏิกิริยาเคมีแบบ
ดูดกลืนพลังงาน (endergonic reaction) เริ่มต้น เพราะต้องการพลังงานส่วนหนึ่งก่อนที่ปฏิกิริยา
จะเกิดขึ้น ปฏิกิริยาที่ต้องการพลังงานก่อกัมมันต์ต�่าจะเกิดง่ายและเร็ว ตรงกันข้ามกับปฏิกิริยา
ที่ต้องการพลังงานก่อกัมมันต์สูงจะเกิดยากและช้า ตัวเร่งปฏิกิริยา (catalyst) เป็นสารที่เติมลงไป
เพื่อช่วยลดพลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยาเคมี เช่น เหล็ก เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาระหว่างไฮโดรเจน
กับไนโตรเจนในการผลิตแอมโมเนีย ในปฏิกิริยาชีวเคมีใช้เอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา โดยบางปฏิกิริยา
ใช้ adenosine triphosphate หรือ ATP (มีธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ) เป็น
แหล่งของพลังงาน ดูเพิ่มเติมจาก energy coupling (“กัมมันต์” แปลว่า ท�าการงาน)
2-
activation of sulfate กำรปลุกฤทธิ์ซัลเฟต : ขั้นตอนแรกของการใช้ประโยชน์ซัลเฟตไอออน (SO )
4
ที่เซลล์รากดูดได้แล้วเคลื่อนย้ายทางไซเล็มไปยังใบ โดยซัลเฟตไอออนท�าปฏิกิริยากับ ATP ใน
เซลล์ใบ เพื่อให้เป็นสารประกอบที่เหมาะสม แล้วเข้าสู่กระบวนการรีดักชันได้ซัลไฟต์ไอออน และ
ซัลไฟด์ไอออนตามล�าดับ จากนั้นจึงน�าไปใช้ในการสังเคราะห์สารอินทรีย์ เช่น กรดอะมิโนซีสเทอีน
ซึ่งมีก�ามะถันเป็นองค์ประกอบ
activator (1) สำรเร่งหรือเชื้อเร่ง : สารหรือเชื้อจุลินทรีย์ที่ใส่ในกองหมักวัสดุ เพื่อให้สารอินทรีย์ในกอง
มีการสลายตัวและได้ปุ๋ยหมักเร็ว สารเร่ง ได้แก่ เศษอาหารสัตว์และปุ๋ยเคมี ส่วนเชื้อเร่ง ได้แก่
จุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ที่มีกิจกรรมย่อยสลายสารอินทรีย์ การใช้สารเร่งหรือเชื้อเร่งท�าให้ได้ปุ๋ยหมัก
คุณภาพดีในเวลาที่สั้นกว่าเดิม เรียกสารที่ใช้อีกชื่อหนึ่งว่า accelerators
activator (2) ตัวกระตุ้น : ไอออนของธาตุซึ่งท�าหน้าที่เป็นปัจจัยร่วมหรือโคแฟกเตอร์ (cofactor) ของ
2+
2+
+
2+
2+
2+
เอนไซม์บางชนิด เช่น K , Ca , Mg , Fe , Cu , Mn และ Zn 2+
active biomass ชีวมวลมีชีวิต : จ�านวนเซลล์ของจุลินทรีย์มีชีวิตในปุ๋ยชีวภาพ เช่น ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม
ต้องมีเซลล์จุลินทรีย์มีชีวิตอย่างน้อย 10 เซลล์/กรัมวัสดุรองรับ (carrier) ปุ๋ยชีวภาพอะโซโตแบคเตอร์
8
ต้องมีเซลล์จุลินทรีย์มีชีวิตอย่างน้อย 10 เซลล์/กรัมวัสดุรองรับ
7
active site แอกทีฟไซต์ : ส่วนของเอนไซม์ซึ่งมีโครงสร้างเฉพาะท�าหน้าที่จับกับซับสเทรต ได้เอนไซม์-
ซับสเทรตคอมเพล็ก (enzyme-substrate complex) ดังภาพที่ A2 แล้วกระบวนการชีวเคมี
ด�าเนินต่อไปจนจบ แอกทีฟไซต์เป็นบริเวณที่มีการจัดเรียงของกรดอะมิโนชนิดต่าง ๆ อย่างพอเหมาะ
มีโครงสร้างจ�าเพาะกับการจับซับสเทรตเฉพาะชนิดเท่านั้น (กรดอะมิโนที่แอกทีฟไซต์มีไนโตรเจน
และก�ามะถันเป็นองค์ประกอบ)
40 ปี 49
สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย