Page 45 -
P. 45

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                 พจนานุกรมศัพท์ปุ๋ยและธาตุอาหารพืช






















               abiotic อชีวนะ : ซึ่งไม่มีชีวิต เป็นคุณศัพท์ใช้ขยายค�านาม เช่น biotic factors (a-, an-, L: ไม่มี หรือ

                     ปราศจาก; bio-, L: ชีวิต)
               abiotic factor ปัจจัยอชีวนะ : ปัจจัยที่ไม่มีชีวิต ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเติบโตของพืช ได้แก่ ความชื้น
                     อุณหภูมิ สภาพกรดหรือสภาพด่างของดิน
               abiotic stress ควำมเครียดอชีวนะ : ความเครียดของพืชอันเกิดจากปัจจัยที่ไม่มีชีวิต เช่น การขาดน�้า

                     อุณหภูมิต�่าหรือสูงเกินไป  ธาตุแคลเซียมและไนโตรเจนรูปไนทริกออกไซด์  (NO)  มีบทบาทเกี่ยวข้อง
                     กับการตอบสนองของพืชต่อความเครียดอชีวนะ  (เปรียบเทียบกับ  biotic  และดูความหมายของ
                     stress)
               abrasion resistance ควำมต้ำนทำนกำรขัดถู : สมบัติที่แสดงความแข็งของเม็ดปุ๋ยประการหนึ่ง บอก
                     ค่าเป็นร้อยละของน�้าหนักละอองปุ๋ยซึ่งเกิดจากการกร่อน เมื่อเม็ดปุ๋ยขัดถูกันในอุปกรณ์มาตรฐาน

               abscisic acid กรดแอบไซซิก : ฮอร์โมนพืชที่ควบคุมกระบวนการของพืชหลายด้าน เช่น การร่วงของใบ
                     และท�าให้เมล็ดพักตัว  มีบทบาทในการปิดปากใบ  โดยขับเคลื่อนให้โพแทสเซียมไอออนและน�้า
                     ออกจากเซลล์คุม จนเซลล์คุมแฟบ ท�าหน้าที่นี้ร่วมกับแคลเซียม
               abscission กำรร่วง : การหลุดออกไปของอวัยวะพืช เช่น ใบ ดอก และผล การขาดธาตุไนโตรเจนของ

                     พืชเป็นปัจจัยหนึ่งที่ท�าให้ใบจะร่วงเร็วกว่าปรกติ (ab-, L: ออกไป ;  scindere, L: ตัดขาด)
               abscission zone บริเวณกำรร่วง : เนื้อเยื่อของก้านใบ ก้านดอก หรือก้านผลส่วนที่ติดกับกิ่ง อันเป็น
                     บริเวณที่จะขาดออกเมื่ออวัยวะร่วง ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ (1) ชั้นการขาด (separation layer)
                     อยู่ส่วนบน  และ  (2)  ชั้นป้องกัน  (protective  layer)  อยู่ส่วนล่างและผนังเซลล์แข็งแรงเพราะ
                     มีสารซูเบอริน ก่อนที่อวัยวะเช่นใบจะร่วง ความเข้มข้นของออกซินในใบจะลดลง ปริมาณออกซิน

                     ที่เคลื่อนย้ายเข้าสู่บริเวณการร่วงก็น้อยลงด้วย  เมื่อบริเวณการร่วงได้รับเอทิลีนเข้ามา  เอนไซม์ซึ่ง
                     ท�าหน้าที่ย่อยผนังเซลล์ เช่น เซลลูเลส (cellulase) และพอลิกาแลกทูรอนเนส (polygalacturonase)
                     ก็ถูกกระตุ้นให้มีกิจกรรมสูงขึ้น  จึงย่อยผนังเซลล์ของชั้นการขาดตลอดแนว  เหลือแต่ไซเล็มซึ่งรับ
                     น�้าหนักใบไม่ได้ ท�าให้ใบร่วง จากนั้นชั้นป้องกันก็ท�าหน้าที่คลุมรอยขาด เพื่อลดการสูญเสียน�้าและ

                     ป้องกันศัตรูพืช ส�าหรับพืชที่ขาดธาตุไนโตรเจน แผ่นใบล่างจะเหลืองและใบร่วงเร็วกว่าปรกติ


                                                                               40 ปี       45
                                                           สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50