Page 46 -
P. 46

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

              พจนานุกรมศัพท์ปุ๋ยและธาตุอาหารพืช




            absorption (1) กำรดูด : กระบวนการที่สารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปในเซลล์ เช่น การดูดน�้า (water
                  absorption) การดูดไอออน (ion absorption) การดูดธาตุอาหาร (nutrient absorption) ของ
                  เซลล์พืช โดยทั่วไป ion absorption มีความหมายเหมือนกับ ion uptake และ ion transport
                  ซึ่งใช้หน่วยของอัตราการดูดไอออน คือไมโครโมลของไอออน/กรัม (น�้าหนักสด/ชั่วโมง) เหมือนกัน

                  มีการใช้ค�า  “absorption”  และ  “uptake”  ในต�าราธาตุอาหารพืชมานานแล้ว  ในบางกรณีใช้
                  “uptake” ให้มีความหมายว่า “การดูดสะสม” (ดูความหมายของ uptake) ส่วนค�า “transport
                  (การขนส่ง)” เพิ่งใช้กันมากเมื่อ พ.ศ. 2515 และมีการศึกษากลไกด้านชีวเคมีอย่างลึกซึ้ง จึงควร
                  ศึกษาความหมายของศัพท์ต่อไปนี้  คือ  active  transport,  nutrient  transport,  passive

                  transport, transport protein และ transporter
            absorption (2) กำรดูดซึม : กระบวนการที่สารหนึ่งซึมเข้าไปในเนื้อของอีกสารหนึ่ง เช่น (1) การดูดซึม
                  น�้าเข้าไปไว้ในช่องว่างของดิน  และ  (2)  แก๊สฟอสฟอรัสเพ็นทอกไซด์  (P O )  ดูดซึมเข้าไปในน�้า
                                                                           2 5
                  แล้วท�าปฏิกิริยากับน�้าได้กรดออโทฟอสฟอริก

            absorption (3) กำรดูดกลืน (แสง) : กระบวนการที่พลังงานแสงซึ่งตกกระทบผิววัสดุ เข้าไปในเนื้อวัสดุ
                  และอยู่ในวัสดุนั้น แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานรูปอื่น เช่น การดูดกลืนแสงของคลอโรฟิลล์ในใบพืช แล้ว
                  ใช้พลังงานในกระบวนการสังเคราะห์แสง (ดูรายละเอียดใน photosystem, photosynthesis)
            absorption spectrum สเปกตรัมดูดกลืน : ความยาวคลื่นของแสงช่วงต่าง ๆ จากแถบรังสีแสง ที่สารสี

                  (pigment) ชนิดหนึ่งสามารถดูดกลืนพลังงานได้ น�าเสนอโดยเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง
                  ปริมาณการดูดกลืนแสงของสารสี (เช่น คลอโรฟิลล์ เอ คลอโรฟิลล์ บี) กับความยาวคลื่น (wave
                  length) ของแสง (spectrum, L: ภาพ, การปรากฏ)
            accessory pigment สำรสีเสริม : โมเลกุลสารสีประเภทหนึ่ง ซึ่งท�าหน้าที่ช่วยสารสีหลักในการน�าส่ง

                  พลังงานแสง เช่น คลอโรฟิลล์ บี และแคโรทีนอยด์ ถ่ายโอนพลังงานแสงไปยังคลอโรฟิลล์ เอ ที่
                  ศูนย์ปฏิกิริยาแสงของการสังเคราะห์แสง
            acclimated microorganism จุลินทรีย์ปรับตัวได้ : จุลินทรีย์ที่สามารถปรับตัวให้ทนต่อสภาพแวดล้อม
                  ที่เปลี่ยนแปลงได้ เช่น ทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ พีเอช (pH) และความเข้มข้นของออกซิเจน

                  เช่น เชื้อไรโซเบียมบางชนิดทนกรด ด�ารงชีพได้ในดินที่มีพีเอชต�่า ในระดับที่จุลินทรีย์ทั่วไปไม่อาจ
                  ทนได้
            acclimation กำรท�ำให้ชินภูมิอำกำศ : การเตรียมพืชให้รับรู้และคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมใหม่และใช้เวลา
                  ปรับตัวต่อภูมิอากาศที่ไม่เอื้ออ�านวย ศัพท์นี้มาจาก ac + climate  (ac -, L: ไปยัง, เกี่ยวกับ)

            acclimatization กำรชินภูมิอำกำศ : การปรับตัวด้านสรีระของพืช หลังจากอยู่ในภูมิอากาศใหม่ เพื่อให้
                  ทนต่อความเครียดจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (ดูความหมายของ stress; abiotic stress)
            accreditation กำรรับรองมำตรฐำน : การรับรองความถูกต้องของทุกขั้นตอน ในกระบวนการผลิต
                  ระดับฟาร์ม  หลังจากด�าเนินการตรวจประเมิน  โดยผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรซึ่งท�าหน้าที่ควบคุม



               46       40 ปี
                        สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51