Page 249 -
P. 249

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว








                         1. การเพิ่มการใช้ประโยชน์ของคาร์โบไฮเดรทและโปรตีน ซึ่งไม่ได้ถูกย่อยด้วยเอ็นไซม์

                  ภายในร่างกายของสัตว์

                         2. การทำลายพันธะเฉพาะที่พบในวัตถุดิบอาหารสัตว์ ซึ่งเอ็นไซม์ในร่างกายไม่สามารถ

                  ย่อยได้ ทำให้ร่างกายสัตว์ได้รับสารอาหารเพิ่มขึ้น

                         3. การทำลายสารยับยั้งการใช้ประโยชน์ของสารอาหารที่พบในวัตถุดิบอาหารสัตว์


                         4. การเพิ่มปริมาณเอ็นไซม์ให้กับสัตว์ระยะเล็กซึ่งร่างกายยังผลิตเอ็นไซม์ที่ใช้ย่อย

                  อาหารได้ไม่เต็มที่


                  ทั้งนี้สามารถแบ่งกลุ่มของเอ็นไซม์สังเคราะห์ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ


                  1. กลุ่มเอ็นไซม์ที่ร่างกายสัตว์สามารถสร้างขึ้นเองได้ อาทิ อะไมเลสสำหรับย่อยแป้ง ไลเปส

                  สำหรับย่อยไขมัน และโปรติเอสสำหรับย่อยโปรตีน นิยมเสริมในช่วงสัตว์ระยะเล็กเพื่อเพิ่ม

                  ประสิทธิภาพการย่อยสารอาหารหลัก

                  2. กลุ่มเอ็นไซม์ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างได้ ได้แก่ไฟเตส (phytase) สำหรับย่อยฟอสฟอรัส

                  จากกรดไฟติคหรือเกลือไฟเตทจากพืช และเอ็นไซม์ที่ย่อยกลุ่มคาร์โบไฮเดรทที่ไม่ใช่แป้ง (NSP-


                  degraded enzymes)


                  เอ็นไซม์ไฟเตส


                  โดยปกติฟอสฟอรัสจากพืชถึงสองในสามส่วนอยู่ในรูปของกรดไฟติคหรือเกลือไฟเตท (ตารางที่

                  13-3) ซึ่งร่างกายของสัตว์กระเพาะเดี่ยวไม่สามารถนำมาใช้ได้ จึงขับออกกับสิ่งขับถ่าย ก่อให้-

                  เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ทั้งนี้เนื่องจากขาดเอ็นไซม์ไฟเตส ในปัจจุบันจึงได้มีการผลิต

                  ไฟเตสจากจุลินทรีย์บางชนิด เช่นกลุ่มเชื้อรา Aspergillus ficuum, Aspergillus niger กลุ่ม


                  ยีสต์ (Saccharomyces occidentalis ) กลุ่มแบคทีเรีย Pseudomonas spp. และ

                  Bacillus subtilis การใช้ไฟเตสสามารถช่วยเพิ่มการใช้ประโยชน์ของฟอสฟอรัสสูงขึ้น 20.5-

                  40.9% และแร่ธาตุอื่นๆ ในอาหารสัตว์อาทิ แคลเซียม เหล็ก สังกะสี ทองแดง (Pallauf et al.

                  1994) ทำให้สามารถลดการใช้แหล่งเสริมฟอสฟอรัสในอาหารสัตว์ แต่ทั้งนี้จำเป็นต้องคำนึงถึง

                  ระดับของไฟเตท-ฟอสฟอรัสในอาหารด้วย



                  สารเสริมในอาหารสัตว์                                                            246
   244   245   246   247   248   249   250   251   252   253   254