Page 246 -
P. 246
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อินทรีย์ในอาหารจึงสามารถช่วยลดค่าความสามารถในการจับกรด (buffering capacity) ของ
อาหารลง
ตารางที่ 13-1: ค่า pKa ของกรดอินทรีย์บางชนิด
กรดอินทรีย์ ค่า pKa
กรดฟอร์มิค 3.74
กรดอะซิติค 4.74
กรดโปรปิโอนิค 7.84
กรดฟูมาริค 3.03 (pKa )
1
4.47 (pKa )
2
กรดแลคติค 3.86
กรดซิตริค 3.06 (pKa )
1
4.74 (pKa )
2
5.40 (pKa )
3
ที่มา: Carret et al. (1993)
ค่าความสามารถในการจับกรด (buffering capacity)
หมายถึงปริมาณของกรดไฮโดรคลอริคหรือกรดเกลือที่ทำให้อาหาร 1 กก. มีค่าความเป็น
กรด-ด่างลดลงเหลือ 3.0 โดยมีหน่วยเป็นมิลลิอิควิวาเลนต์ (meq.) อาหารที่มีค่า meq ที่
สูงจะสามารถทำปฏิกิริยากับกรดเกลือที่หลั่งจากผนังกระเพาะอาหารได้ มีผลทำให้มีปริมาณ
กรดเกลือที่ไปกระตุ้นการทำงานของเปปซินลดลง ผลทำให้ค่าการย่อยได้ของโปรตีนลดลง
นอกจากนี้ค่าความสามารถในการจับกรดของอาหารที่สูงจะสามารถกระตุ้นการเจริญของ
แบคทีเรียจำพวกโคลิฟอร์ม (coliform) ในระบบทางเดินอาหารของลูกสุกร ซึ่งมีผลทำให้เสี่ยง
ต่อการเกิดอาการท้องเสียสูงขึ้น สำหรับอาหารลูกสุกรจึงควรมีค่าสูงสุดไม่เกิน 70 meq HCl/
กก. โดยปัจจัยที่มีผลต่อค่าความสามารถในการจับกรดคือ
• ระดับและแหล่งแร่ธาตุในอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งเสริมแคลเซียมและ
ฟอสฟอรัส
สารเสริมในอาหารสัตว์ 243