Page 247 -
P. 247

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว








                         • วัตถุดิบอาหารสัตว์บางชนิดเช่น กากถั่วเหลือง หางนมผง และปลาป่น มักมีค่า

                  ความสามารถในการจับกรดได้สูง แต่กลุ่มธัญพืชมักมีค่าต่ำ (ตารางที่ 13-2)


                  ตารางที่ 13-2: ค่าความสามารถในการจับกรดของวัตถุดิบอาหารสัตว์บางชนิด


                  วัตถุดิบอาหารสัตว์                             ความสามารถในการจับกรด (meq/กก.)

                  ข้าวโพด                                                     160-200

                  ถั่วเหลือง                                                  950-1200

                  หางนมผง                                                    1200-1500

                  ปลาป่น                                                     1500-1900
                  เนื้อและกระดูกป่น                                          1500-1900

                  ไดแคลเซียมฟอสเฟต                                           1500-1900

                  หินฝุ่น                                                      20000



                  กลไกการทำงานของกรดอินทรีย์


                  1. ปรับค่า pH ของกระเพาะอาหารให้ลดลงจนอยู่ในช่วงที่เหมาะสมกับการทำงานของเปป-

                  ซิน


                  2. การยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์กลุ่มก่อโรค กรดอินทรีย์ที่มีโครงสร้างสายสั้น เช่น กรด

                  ฟอร์มิค กรดโปรปิโอนิคและกรดบิวทิริค สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรียโดยสามารถแทรกผ่าน

                  เข้าไปในผนังเซลล์ของแบคทีเรียในรูปที่ไม่แตกตัว แล้วจึงไปแตกตัวในเซลล์ มีผลทำให้การซึม

                  น้ำแบบออสโมติค (osmotic) เสียไป ทำให้เมแทบอลิซึมภายในเซลล์แบคทีเรียผิดปกติ

                  3. มีคุณสมบัติเป็นสารต้านการจับกับกรด (anti-buffering effect) เมื่อกรดอินทรีย์แตกตัว


                  ได้ไฮโดรเจนไอออน ซึ่งจะไปเกาะกับรีเซฟเตอร์ที่จับกับกรด (acid-binding receptor) ของ

                  อาหารสัตว์ ทำให้กรดเกลือในกระเพาะอาหารไม่สามารถเกาะกับรีเซฟเตอร์ได้ หรือทำให้ค่า

                  ความสามารถในการจับกรดของอาหารลดลงนั่นเอง ส่งผลให้มีปริมาณกรดเกลือเหลือไป

                  กระตุ้นการทำงานของเปปซินได้มากขึ้น กรดอินทรีย์ที่นิยมเสริมในสูตรอาหารสัตว์ ได้แก่







                  สารเสริมในอาหารสัตว์                                                            244
   242   243   244   245   246   247   248   249   250   251   252