Page 244 -
P. 244

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว








                  แต่จะมีความจำเพาะในการกระตุ้นการเจริญเติบโต และการทำงานของจุลินทรีย์ในกลุ่มที่ย่อย

                  น้ำตาล (Saccharolytic microorgamisms) เช่น กลุ่ม Bifidobacterium sp. และ Lacto-

                  bacillus sp. ซึ่งมีความสามารถในการผลิตเอ็นไซม์โพลี่ไฮโดรเลส (polyhydrolase) และไกล

                  โคซิเดส (glycosidase) จึงสามารถหมักย่อยสายโซ่ของพรีไบโอติคได้ดี ในขณะที่จุลินทรีย์กลุ่ม

                  ที่ย่อยโปรตีน เช่น คลอสตริเดียม (Clostridium sp.) มีความสามารถในการย่อยพรีไบโอติคได้


                  ต่ำ ผลผลิตจากการหมักย่อยได้กรดไขมันสายโซ่สั้น เช่น กรดอะซิติค  กรดบิวทิริค กรดโปรปิ

                  โอนิค และก๊าซต่าง ๆ เช่น ไฮโดรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน และไฮโดร-เจนซัลไฟด์

                  นอกจากนั้นอาจได้สารตัวกลางในวิถีเมแทบอลิซึมเช่น เอทานอล (ethanol) กรดแลคติค กรด

                  ซัคซินิค (succinic acid) และกรดไพรูวิค เป็นต้น  ผลผลิตเหล่านี้ช่วยในการเพิ่มจำนวนเซลล์


                  เยื่อบุลำไส้ใหญ่และสัตว์นำไปใช้เป็นแหล่งพลังงาน ในสุกรปริมาณการเกิดกรดไขมันสายโซ่สั้น

                  จากลำไส้ใหญ่มีประมาณ 210 mmol/L และสามารถให้พลังงานแก่สัตว์คิดเป็น 11% ของ

                  พลังงานที่ร่างกายต้องการ (Bergman, 1990)


                  นอกจากนี้สารพรีไบโอติคสายสั้นยังสามารถจับกับรีเซ็ฟเตอร์ (recepter) บนผิวของเชื้อ-

                  จุลินทรีย์ที่ก่อโรคเช่น อี โคไล หรือซัลโมเนลลา และพาจุลินทรีย์ดังกล่าวถ่ายออกมาพร้อมกับ

                  มูลของสัตว์ เป็นการช่วยป้องกันผนังลำไส้ของสัตว์มิให้ถูกทำลาย (Newman, 1994) สารที่

                  จัดเป็นพรีไบโอติคมีหลายชนิดขึ้นกับองค์ประกอบและโครงสร้างของโมเลกุล อาทิ



                         1. กลุ่มน้ำตาลแอลกอฮอล์ (alcohol sugar) ได้แก่ แลคติทอล (lactitol) ไซลิทอล

                  (xylitol) ซอร์บิทอล (sorbitol) และแมนนิทอล (mannitol) นิยมใช้ในคน

                         2. กลุ่มโอลิโกแซคคาไรด์ (oligo-saccharides) เป็นกลุ่มที่มีความยาวของโมเลกุล


                  (degree of polymerization: DP) น้อยกว่า 10 ได้แก่ fructo-oligosaccharide (FOS),  -

                  glucan-oligosaccharide (GOS), manno-oligosaccharide (MOS), transgalacto-oligo-

                  saccharide (TOS) เป็นต้น เป็นกลุ่มที่มีประสิทธิภาพการทำงานสูงและนิยมใช้ในอาหารสัตว์

                         3. กลุ่มโพลี่แซคคาไรด์ (polysaccharide) กลุ่มนี้มีค่า DP อยู่ในช่วง 2-60 ได้แก่ สาร

                  อินนูลิน (inulin) และสาร resistant starch จากพืชบางชนิด





                  สารเสริมในอาหารสัตว์                                                            241
   239   240   241   242   243   244   245   246   247   248   249