Page 243 -
P. 243

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว








                         4. ช่วยลดค่าความเป็นกรด-ด่างในระบบทางเดินอาหาร ทำให้ไม่เหมาะสมกับการ

                  เจริญของจุลินทรีย์กลุ่มที่ก่อให้เกิดโรค


                  เนื่องจากจุลินทรีย์ที่ใช้เป็นสารโปรไบโอติคจะออกฤทธิ์ได้ดีในขณะที่มีชีวิตอยู่เท่านั้น ดังนั้นจึง

                  จำเป็นต้องให้สารโปรไบโอติคมีความคงทนต่อความร้อนในกระบวนการผลิตอาหารและสภาพ

                  ความเป็นกรดและน้ำดีในกระเพาะอาหารของสัตว์ การห่อหุ้มจุลินทรีย์ด้วยสารต่าง ๆ

                  (encapsulation) ดังรูปที่ 13-1 เพื่อมิให้จุลินทรีย์สัมผัสกับความร้อนโดยตรงหรือการใช้


                  จุลินทรีย์ที่สร้างสปอร์จะช่วยให้จุลินทรีย์มีความคงตัวเพิ่มขึ้น


                  ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของสารโปรไบโอติค


                  ปฏิกิริยาร่วมระหว่างสารโปรไบโอติคกับสารเสริมอื่นๆ ในอาหารสัตว์เช่น การใช้ร่วมกับสาร

                  ปฏิชีวนะมีผลทำให้ประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ของสารโปรไบโอติคลดลง ในขณะที่สารพรีไบโอ

                  ติคช่วยเสริมการทำงาน  นอกจากนี้การใช้สารโปรไบโอติคในสภาพที่สัตว์มีความเครียดจะ


                  ให้ผลที่เด่นชัดกว่า



                                                                      สารหุ้ม




                                                              Lactic acid bacteria







                                รูปที่ 13-1: การหุ้มสารโปรไบโอติคด้วยวิธี encapsulation


                  พรีไบโอติค (Prebiotics)



                  เป็นคาร์โบไฮเดรทสายสั้น (oligosaccharides) ที่สามารถเคลื่อนผ่านทางเดินอาหารส่วนต้น

                  จนถึงส่วนปลายลำไส้ใหญ่ โดยไม่ผ่านการย่อยของเอ็นไซม์ในระบบทางเดินอาหารของสัตว์


                  สารเสริมในอาหารสัตว์                                                            240
   238   239   240   241   242   243   244   245   246   247   248