Page 245 -
P. 245

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว








                  คุณสมบัติในการเป็นสารพรีไบโอติคของสารแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน โดย FOS และ TOS

                  มีความสามารถช่วยให้มีการเจริญและการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์กลุ่มที่เป็นประโยชน์ใน

                  ทางเดินอาหาร โดยเฉพาะกลุ่ม Bifidobacterium  sp. และ Lactobacillus sp. ได้ดีกว่า

                  สารพรีไบโอติคกลุ่มอื่น ๆ (Djouzi and Andrieux, 1997)



                  กรดอินทรีย์ (organic acids)


                  สัตว์ระยะเล็กมักเกิดอาการท้องเสีย เนื่องจากพัฒนาการของระบบทางเดินอาหารยังไม่สมบูรณ์


                  ทำให้การย่อยอาหารไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการเจริญและแพร่กระจายของจุลินทรีย์ใน

                  ทางเดินอาหารโดยเฉพาะกลุ่มที่ก่อให้เกิดโรค จึงได้มีการใช้กรดอินทรีย์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิ-

                  ภาพการย่อยอาหารและปรับสมดุลจุลินทรีย์ กรดอินทรีย์หรือกรดคาร์บอกซิลิค (carboxylic

                  acid) เป็นสารที่พบได้โดยทั่วไปทั้งพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ โครงสร้างประกอบด้วยหมู่คาร์บอ

                  นิค (-C=O) และหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) (รูปที่ 13-2) กรดอินทรีย์มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน เมื่ออยู่ใน


                  น้ำจะแตกตัวให้ไอออนได้ และให้ค่าความเป็นกรดที่แตกต่างกันขึ้นกับสภาวะความเป็นกรด-

                  ด่างที่ปรากฏในขณะนั้น


                                                           O

                                                  R        C       OH


                                            รูปที่ 13-2: โครงสร้างของกรดอินทรีย์


                                                                       +
                  ซึ่งค่าที่แสดงความสามารถในการปลดปล่อยความเป็นกรด (H ) ออกมาเรียกว่า "pKa" ซึ่งเป็น
                  ค่าที่บ่งบอกถึงความเป็นกรด โดยสารที่ให้ความเป็นกรดแต่ละชนิดจะปลดปล่อยไฮโดรเจน


                  ไอออนออกมาในปริมาณครึ่งหนึ่ง กรดอินทรีย์ที่มีค่า pKa ต่ำกว่าค่าความเป็นกรด-ด่างของ

                  สารละลายจะสามารถแตกตัวได้สูง แต่ถ้า pKa ของกรดอินทรีย์ที่แตกตัวมีค่าสูงกว่าค่าความ

                  เป็นกรด-ด่างของสารละลายจะแตกตัวได้ต่ำ กรดบางชนิดมีค่า pKa เพียงค่าเดียวแต่บางกรดมี

                  มากกว่า 1 ค่า (ตารางที่ 13-1) ซึ่งบ่งบอกถึงความสามารถของกรดในการปลดปล่อยไฮโดร-

                  เจนไอออนออกมาในช่วงความเป็นกรด-ด่างที่หลากหลาย จากคุณสมบัติดังกล่าวการเสริมกรด




                  สารเสริมในอาหารสัตว์                                                            242
   240   241   242   243   244   245   246   247   248   249   250