Page 252 -
P. 252
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เจริญของเชื้อรา เช่นกรดอินทรีย์บางชนิด (กรดโปรปิโอนิค กรดซอร์บิค กรดเบนโซอิค และ
กรดอะซิติค) หรือเกลือของกรดอินทรีย์ เช่นแคลเซียมโปรปิโอเนท เพื่อลดปัญหาดังกล่าว
นอกจากนี้การใช้กรดอินทรีย์ในระดับต่ำสามารถช่วยเพิ่มการกินอาหารของสัตว์ ช่วยให้สัตว์มี
การเจริญเติบโตดีขึ้น อย่างไรก็ตามกรดอินทรีย์บางชนิด เช่น กรดโปรปิโอนิคมีฤทธิ์ยับยั้งการ
เจริญของเชื้อราได้ดี แต่มีฤทธิ์ในการกัดกร่อนสูง ทำให้อุปกรณ์การผลิตอาหารเสียหาย และมี
กลิ่นฉุนเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจได้จึงนิยมใช้ในรูปเกลือของกรดอินทรีย์
สารลดพิษสารพิษจากเชื้อรา (Mycotoxin deactivator)
สารพิษจากเชื้อราเป็นสารที่เชื้อราผลิตขึ้นภายให้สภาวะที่เหมาะสม ซึ่งมีผลกระทบต่อตัวสัตว์
ในหลายๆ ด้าน เช่น กดระบบภูมิคุ้มกันโรคของสัตว์ การกินอาหารของสัตว์ลดลง และหาก
ได้รับในระดับสูงจะส่งผลเสียต่ออวัยวะเป้าหมายหรือทำให้สัตว์ตายได้ สารพิษจากเชื้อราที่พบ
ในวัตถุดิบอาหารสัตว์มีหลายชนิด โดยเกิดจากเชื้อรา 3 กลุ่มคือ
1. เชื้อรากลุ่ม Aspergillus sp. ผลิตสารพิษกลุ่มอะฟลาทอกซิน และออกคราทอก
ซิน (ochratoxin)
2. เชื้อรากลุ่ม Fusarium sp. สารพิษที่ผลิตจากเชื้อรากลุ่มนี้มีหลายชนิดได้แก่
2.1 สารพิษกลุ่มไตรโคทีซีน (Trichothecene) ซึ่งมีหลายชนิดได้แก่ T2-toxin,
Deoxynivalenol (DON หรือ vomitoxin) เป็นต้น
2.2 ซีราลีโนน (zearalenone)
2.3 ฟูโมนิซิน (fumonisin)
3. เชื้อรากลุ่ม Penicillium sp. ผลิตสารพิษ ออกคราทอกซิน (Ochratoxin) เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้ในปัจจุบันจึงมักเสริมสารที่สามารถลดพิษของสารพิษจากเชื้อราในกลุ่มต่าง ๆ ซึ่ง
สารที่เสริมมีหลายประเภท แต่ละประเภทจะมีกลไกในการทำงานที่แตกต่างกันดังนี้
• สารดูดซับสารพิษจากเชื้อรา (mycotoxin binder) เป็นสารประกอบอะลูมิโนซิลิเกตมี
คุณสมบัติในการดูดซับสารพิษจากเชื้อรา เนื่องจากลักษณะโครงสร้างมีประจุและเป็นผลึกที่
สารเสริมในอาหารสัตว์ 249