Page 254 -
P. 254

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว








                  medulla) ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมสรีระของเนื้อเยื่อต่าง ๆ อาทิ เพิ่มการ

                  บีบตัวของหัวใจ ขยายหลอดลม กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินจากตับอ่อน และการหดตัว

                  และขยายตัวของหลอดเลือด เป็นต้น สารเบต้า-อะโกนิสต์จะกระตุ้นการสลายสารอาหารที่

                  สะสมในร่างกายทั้งไกลโคเจนและไขมัน เพื่อนำมาใช้สร้างพลังงานและความร้อนในเนื้อเยื่อนั้น

                  หรือส่งไปยังอวัยวะที่ต้องการ มีผลให้ไขมันที่สะสมในเซลล์ไขมันลดลง และร่างกายได้พลังงาน


                  มาใช้ในการสังเคราะห์โปรตีนเพิ่มขึ้น (Hanrahan et al., 1986)





















                    รูปที่ 13-4: โครงสร้างของสารในกลุ่มเบต้า-อะโกนิสต์ (a) ซัลบูทามอล (b) เคลนบู

                           เทอรอล (c) ซัยมาเทอรอล (d) แรคโทพามีน
                    ที่มา: Smith (1998)


                  สารเบต้า-อะโกนิสต์ที่มีการใช้ได้แก่ ซัลบูทามอล (salbutamol) เคลนบูเทอรอล (clenbu-

                  terol) ซัยมาเทอรอล (cimaterol) และแรคโทพามีน (ractopamine) (NRC, 1994) แม้ว่า

                  สารเบต้า-อะโกนิสต์จะช่วยลดการสะสมไขมันของสุกรได้ แต่เนื่องจากมีข้อเสียในการใช้มาก

                  เพราะสัตว์จะมีความเครียดสูง และมักมีอัตราการตายมาก นอกจากนี้สุกรที่ได้รับสารดังกล่าว


                  จะเติบโตช้าและกินอาหารลดลง เนื่องจากสัตว์ได้รับพลังงานจากการสลายไขมันและไกลโคเจน

                  เพียงพอแล้ว และมีรายงานการตกค้างของสารดังกล่าวและสารอนุพันธ์ในผลิตผลจากสัตว์ที่

                  ได้รับสารเหล่านี้ ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายกับผู้บริโภค เช่น กล้ามเนื้อกระตุก หัวใจเต้นเร็ว ปวด

                  ศีรษะและปวดกล้ามเนื้อ (จุฑารัตน์, 2539) ในปัจจุบันจึงได้มีการห้ามใช้สารกลุ่มนี้เลี้ยงสัตว์



                  สารเสริมในอาหารสัตว์                                                            251
   249   250   251   252   253   254   255   256   257   258   259