Page 258 -
P. 258
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
Roxb.) ฝรั่ง (Psidium guajava Linn.) โอริกาโน (Origanum vulgare) กล้วยดิบ (Musa
sapientum Linn.) สะระแหน่ (Mental cordifolia Opiz ) อบเชย (Cinnamomum
camphora) และกานพลู (Eugenia caryophyllus)
• การต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidative property) สารหลายกลุ่มในพืชโดยเฉพาะ
อย่างยิ่งกลุ่ม ฟลาโวนอยด์ อาทิ สารโพลีฟีนอล (Polyphenol) จากเมล็ดองุ่น สารคาเทชิน
(Catechin) และอนุพันธ์จากใบชาหรือฝรั่ง หรือกลุ่มน้ำมันหอมระเหยจากกระเทียม ออริกา
โน และโรสแมรี่ เป็นต้น มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ สารเหล่านี้สามารถช่วยลด
ผลกระทบจากอนุมูลอิสระซึ่งมักเกิดขึ้นในสัตว์มีความเครียดสูงจากการเลี้ยงปศุสัตว์แบบ
หนาแน่น อนุมูลอิสระเหล่านี้สร้างความเสียหายกับเซลล์ต่าง ๆ ภายในร่างกาย ทั้งในระบบ
ทางเดินอาหารและระบบภูมิคุ้มกันโรค ที่ส่งผลทำให้สุขภาพและการใช้ประโยชน์จาก
สารอาหารของสัตว์ด้อยลง การใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรในลักษณะนี้จะช่วยลดความเสียหายที่
เกิดขึ้น พร้อมทั้งช่วยส่งเสริมสุขภาพและการให้ผลผลิตของสัตว์ให้ดีขึ้น
• การต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory property) แม้ว่ากระบวนการอักเสบ
เป็นกลไกสำคัญในร่างกายในการต่อต้านเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมของสัตว์ แต่หากมีมาก
เกินไปจะส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพการผลิตของสัตว์ได้เช่นกัน สารกลุ่มฟลาโวนอยด์และ
แอลคาลอยด์ สามารถช่วยลดการอักเสบของเซลล์ต่าง ๆ ได้ ช่วยในการคืนสภาพของเนื้อเยื่อที่
ได้รับความเสียหายจากเชื้อโรค สารพิษหรืออนุมูลอิสระ ทำให้สัตว์มีสุขภาพดีขึ้น
• การกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรค (Immunomodulators) สารจากสมุนไพรหลายชนิดสามารถ
ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคโดยผ่านกลไกต่าง ๆ เช่นสารกลุ่มคาร์โบไฮเดรทจากพืชบางชนิดช่วยกระตุ้น
การเจริญของอวัยวะในระบบภูมิคุ้มกัน ในขณะที่สารสกัดจากกระเทียม (Allium sativum) ขมิ้น
(Curcuma longa) บ อระเพ็ ด (Tinospora cordifolia) ฟ้ าท ะลายโจ ร (Andrographis
paniculata) และ สารแคบไซซิน (capsaicin) จากพริก (Capsicum sp.) ช่วยเพิ่มการสร้าง
แอนติบอดี (antibody) รวมทั้งเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดเชื้อโรค อาทิ เซลล์แมคโครฟาจ และ
เซลล์เม็ดเลือดขาว เป็นต้น
สารเสริมในอาหารสัตว์ 255