Page 263 -
P. 263

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว








                   (macrophage) และ natural killer cell ซึ่งนิวโทรฟิลล์จะทำหน้าที่ในการกินเซลล์

                   จุลินทรีย์กลุ่มแบคทีเรียที่อยู่ภายนอกเซลล์ ในขณะที่ natural killer cell จะทำการต่อต้าน

                   เชื้อไวรัสและเชื้อโรคที่อยู่ภายในเซลล์ ส่วนแมคโครฟาร์จจะทำการกินและทำลายเชื้อโรค ใน


                   ขณะเดียวกันจะหลั่งสารไซโตคายน์ (cytokine) หลายชนิดที่ก่อให้เกิดอาการอักเสบ

                   (Inflammation) และไซโตคายน์ เหล่านี้จะทำหน้าที่ในการกระตุ้นการทำงานของระบบ

                   ภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะเจาะจงต่อไป ระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะเจาะจงนี้แม้ว่าจะเกิดขึ้น

                   อย่างรวดเร็ว แต่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคต่ำ เนื่องจากเซลล์ที่ทำหน้าที่ในระบบนี้จะ

                   ไม่สามารถจดจำสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาได้ ร่างกายจะใช้ระบบนี้ในการลดปริมาณของเชื้อโรค


                   ลงเพื่อชะลอการเข้าทำลายเซลล์ของเชื้อโรค จนร่างกายสามารถพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันแบบ

                   จำเพาะเจาะจงขึ้นซึ่งมีประสิทธิภาพในการทำงานดีกว่า


                   2. ระบบภูมิคุ้มกันโรคแบบเฉพาะเจาะจง เป็นกลไกที่ร่างกายต้องใช้เวลาในการพัฒนาระบบ

                   อย่างช้า ๆ อาจนานถึงหลายสัปดาห์แต่มีประสิทธิภาพดีกว่า เนื่องจากสามารถลดปริมาณเชื้อ

                   โรคได้อย่างรวดเร็วจนอยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อตัวสัตว์ ระบบภูมิคุ้มกันแบบนี้มีความ

                   ซับซ้อนในการทำลายเชื้อโรค เซลล์ที่ทำงานได้แก่ ลิมโฟไซท์ชนิดทีและบีเซลล์ (T และ B


                   cell) ซึ่งมี receptor มากมายทำให้สามารถจับกับสิ่งแปลกปลอมได้หลายชนิด อีกทั้งยัง

                   สามารถจดจำสิ่งแปลกปลอมได้ เมื่อสัตว์ได้รับเชื้อชนิดเดิมอีก ระบบภูมิคุ้มกันจะตอบสนอง

                   อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ทั้งทีและบีเซลล์จะถูกสร้างที่ไขสันหลัง แต่มีการ

                   พัฒนาและกลไกในการทำงานที่แตกต่างกัน โดยทีเซลล์จะพัฒนาในต่อมไทมัส (thymus

                   gland) ซึ่งมีกลไกในการทำลายเชื้อโรคโดยตรง ส่วนบีเซลล์จะพัฒนาใน bursa of fabricius


                   ของสัตว์ปีกหรือ Peyer’s Patches ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จะทำการกระตุ้นให้เซลล์พลาสม่า

                   ผลิตแอนติบอดี (antibody) ชนิดต่าง ๆ เพื่อจับกินเชื้อโรคหรือแอนติเจน ระบบภูมิคุ้มกันนี้

                   สามารถแบ่งกลไกการทำงานออกเป็น











                   อาหารกับระบบภูมิคุ้มกันโรค                                                      260
   258   259   260   261   262   263   264   265   266   267   268