Page 265 -
P. 265
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2.2 Cell-mediated immune response (CMI) เป็นการทำงานร่วมกับเซลล์ใน
ระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะเจาะจง โดยเซลล์ที่มีบทบาทสำคัญในระบบนี้คือที-ลิมโฟไซท์
(T-lymphocyte) ซึ่งเมื่อรับแอนติเจนจากแมคโครฟาร์จแล้วจะทำการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวน
เซลล์ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการสร้างแอนติบอดีหรือ helper T-lymphocyte และเซลล์ที่
ทำลายเชื้อโรคโดยตรงหรือ cytotoxic T-lymphocyte หรือการสร้างสารไซโตคายน์หลาย
ชนิดขึ้น สารไซโตคายน์นี้เป็นโปรตีนที่มีลักษณะการทำงานคล้ายฮอร์โมน (hormone like
protein) จะทำหน้าที่ส่งสัญญาณการกระตุ้นหรือยับยั้งการทำงานของเซลล์อื่น ๆ เช่น แมค
โครฟาร์จ และ natural killer cell ในการทำลายเชื้อโรค สารไซโตคายน์ต่าง ๆ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่ง interleukin 1 (IL-1), interleukin 6 (IL-6) และ tumor necrosis factor-α
(TNF-α) จะเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันโรคและเมแทบอลิซึมในร่างกายโดยตรง ในภาวะที่
สัตว์ได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย สารไซโตคายน์เหล่านี้จะกระตุ้นการสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาว
และการสร้างแอนติบอดี ในขณะเดียวกันยังมีผลทำให้เกิดการสลายโปรตีนจากกล้ามเนื้อ
เพิ่มขึ้น และลดการสะสมโปรตีนในกล้ามเนื้อ กรดอะมิโนที่ได้จากการสลายโปรตีนจะถูก
นำไปสู่เซลล์ตับ อีกทั้งมีการสลายไขมันเพิ่มขึ้นเพื่อให้เกิดพลังงานสำหรับร่างกายนำไปใช้ใน
การสร้างโปรตีนที่ตับเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบทำให้สัตว์มีการเจริญเติบโตหรือให้ผลผลิตลดลง
นอกจากนี้สารไซโตคายน์ยังทำให้เกิดภาวะแร่ธาตุบางชนิดในเลือดต่ำ คือ เหล็ก สังกะสี และ
ทองแดง (John et al., 2000)
ความต้องการสารอาหารเพื่อการสร้างภูมิคุ้มกันโรค
การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันโรคของสัตว์ทั้งแบบไม่จำเพาะเจาะจง และแบบจำเพาะเจาะจง
จำเป็นต้องใช้สารอาหารเพื่อกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การทำงานของเซลล์ผิวหนังและเซลล์เยื่อบุ
ของอวัยวะต่าง ๆ การกินเชื้อโรค การสร้างสารเยื่อเมือกหรือสารยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์
การสร้างสารไซโตคายน์ การสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาว และการสร้างแอนติบอดี ด้วยเหตุนี้ใน
สภาพการเลี้ยงสัตว์ที่มีความหนาแน่นและมีความเครียดสูง จึงทำให้สัตว์มีความต้องการสาร-
อาหารบางชนิดเพิ่มขึ้นจากระดับที่ใช้เพื่อการเจริญเติบโตหรือการให้ผลผลิตสูงสุด หากสัตว์
อาหารกับระบบภูมิคุ้มกันโรค 262