Page 267 -
P. 267

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว








                   ทำลายเชื้อโรคได้โดยตรง โดยปกติในอาหารสัตว์จะมีระดับของอาร์จินีนมากเพียงพอกับการ

                   เจริญเติบโตของสัตว์ แต่จากผลการทดลองในห้องปฏิบัติการพบว่าระดับของอาร์จินีนที่

                   เหมาะสมกับการสร้าง NO มีค่าสูงกว่าระดับที่ใช้เพื่อการเจริญเติบโตของสัตว์ตามที่แนะนำ


                   โดย NRC ด้วยเหตุนี้สัตว์ที่อยู่ในสภาพการเลี้ยงที่มีการจัดการด้านสุขาภิบาลไม่ดีหรือสัตว์ที่มี

                   ความเครียดสูงจะมีความต้องการอาร์จินีนจากอาหารสูงขึ้น

                          • กรดกลูตามิค จัดอยู่ในกลุ่มกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น ร่างกายสัตว์สามารถสร้างขึ้น

                   เองได้จากกรดอะมิโนตัวอื่น ๆ ในปริมาณที่เพียงพอกับการเจริญเติบโต แต่ในปัจจุบันมีการ


                   ค้นพบว่ากรดกลูตามิคมีความจำเป็นสำหรับการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันโรคของสัตว์ โดยช่วย

                   ในการทำงานของเซลล์แมคโครฟาร์จ และลิมโฟไซท์ให้เป็นปกติ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ในภาวะที่

                   สัตว์สร้างภูมิคุ้มกันจะมีการสลายโปรตีนจากกล้ามเนื้อเพื่อให้ได้กรดกลูตามิคเพิ่มขึ้น ดังนั้น

                   หากสัตว์ได้รับกรดกลูตามิคจากอาหารอย่างเพียงพอ จะสามารถลดการสลายโปรตีนและลด

                   การขับไนโตรเจนส่วนเกินออกจากร่างกาย


                          • กรดอะมิโนที่มีแขนเป็นวงแหวน ในช่วงที่สัตว์เกิดการอักเสบจะมีความต้องการ

                   กรดอะมิโนในกลุ่มที่มีแขนเป็นวงแหวน อาทิ ฟีนิลอลานีน (phenylalanine) ไทโรซีน

                   (tyrosine) และทริฟโตเฟน (tryptophan) สูงขึ้น เนื่องจากโปรตีนที่ทำหน้าที่ภูมิคุ้มกันที่


                   สัตว์สร้างขึ้นจากตับจะมีกรดอะมิโนทั้ง 3 ชนิดนี้เป็นองค์ประกอบอยู่สูง การเพิ่มกรดอะมิโน

                   เหล่านี้ในอาหารจะทำให้สัตว์มีการขับไนโตรเจนที่มาจากการสลายโปรตีนในร่างกายลดลง


                   2. ไขมัน (lipids)


                   ไขมันในอาหารมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระตุ้นการแบ่งเซลล์ลิมโฟไซท์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิด

                   ของกรดไขมันที่เป็นองค์ประกอบของไขมัน โดยกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวกลุ่มโอเมกา 6 (n-6) ที่


                   มักได้จากน้ำมันพืช เช่นกรดลิโนเลอิค (linoleic acid: C18:2) ซึ่งเป็นสารต้นตอของกรดอะ

                   ราชิโดนิค (arachidonic acid) กรดอะราชิโดนิคนี้ทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์

                   ของเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกัน ปริมาณของกรดอะราชิโดนิคที่ผนังเซลล์นี้ มีบทบาทสำคัญ

                   ต่อการทำหน้าที่ในการคุ้มกันโรคของเซลล์เหล่านี้ เนื่องจากกรดอะราชิโดนิคเป็นสารต้นตอ





                   อาหารกับระบบภูมิคุ้มกันโรค                                                      264
   262   263   264   265   266   267   268   269   270   271   272