Page 261 -
P. 261
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 14
อาหารกับระบบภูมิคุ้มกันโรค
การผลิตสัตว์ในเชิงการค้ามุ่งเน้นให้สัตว์มีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตสูงสุด มีการพัฒนา
สายพันธุ์ให้มีศักยภาพสูงขึ้น ตลอดจนมีการเลี้ยงในสภาพที่หนาแน่น ทำให้เกิดการแพร่กระ-
จายของเชื้อโรคต่าง ๆ มากขึ้น ส่งผลให้สัตว์มีภูมิคุ้มกันโรคลดลง ในขณะที่ระดับสารอาหารที่
แนะนำโดย NRC (National Research Council) หรือองค์กรอื่นๆ นั้นได้มาจากการทดลอง
ในสภาพการจัดการที่ดี ทำให้สัตว์มีความเครียดน้อยหรือถูกรบกวนจากเชื้อโรคต่าง ๆ ใน
ระดับต่ำ การนำระดับสารอาหารดังกล่าวมาใช้ในเชิงปฏิบัติ ซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน
มากจึงอาจไม่เพียงพอสำหรับการให้ผลผลิตสูง และการสร้างภูมิคุ้มกันโรคที่พอเหมาะของสัตว์
ด้วยเหตุนี้ในการประกอบสูตรอาหารสัตว์ในปัจจุบัน จึงได้มีความสนใจเกี่ยวกับสารอาหารที่
เกี่ยวข้องกับการสร้างภูมิคุ้มกันโรคของสัตว์กันมากขึ้น
ระบบภูมิคุ้มกันโรคของสัตว์
ร่างกายของสัตว์จะมีกลไกในการป้องกันตนเองจากการเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์ และสิ่ง
แปลกปลอมอื่นๆ หรือที่รู้จักในชื่อว่า “ภูมิคุ้มกันโรค” หากสัตว์มีระบบภูมิคุ้มกันโรคที่ดีแล้ว
จะทำให้สามารถทนทานต่อการเกิดโรคได้มากขึ้น ระบบภูมิคุ้มกันโรคในร่างกายสัตว์สามารถ
แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ระบบภูมิคุ้มกันโรคที่ไม่จำเพาะเจาะจง (innate
immunity) และระบบภูมิคุ้มกันโรคชนิดเจาะจง (acquired immunity) ซึ่งทั้ง 2 ระบบมี
ลักษณะการทำงานที่แตกต่างกัน (ตารางที่ 14-1)
1. ระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่จำเพาะเจาะจง เป็นระบบภูมิคุ้มกันโรคที่ร่างกายตอบสนองทันทีเมื่อ
ได้รับเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย สัตว์จะมีผิวหนังหรือเยื่อบุผิว (epithelial cell)
อาหารกับระบบภูมิคุ้มกันโรค 258