Page 63 -
P. 63
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การทดลองและเก็บข้อมูลภาคสนามระยะที่ 2 เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยตรงจากผู้บริโภคในกว่าง
โจว ด้วยวิธีการส ารวจข้อมูล (Survey Based Technique) จากการสัมภาษณ์ผู้ที่ท าหน้าที่ตัดสินใจซื้อสินค้า
ข้าวมาบริโภคในแต่ละครัวเรือน โดยใช้แบบสอบถาม (ขั้นสุดท้าย) เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลด้านคุณภาพข้าว ด้าน
เศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ข้อมูลการบริโภคข้าว ปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อการบริโภคในครัวเรือนและ
แบบทดสอบทางเลือกจากชุดทางเลือกต่างๆที่ก าหนดให้
3.1.1.2 ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) ได้แก่ นโยบายและมาตรการที่เกี่ยวกับการก าหนด
มาตรฐานข้าว ตรามาตรฐานต่างๆข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตและการส่งออกข้าว คุณลักษณะของข้าวหอมต่างๆ
ข้าวของแต่ละประเทศ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการระบบการตลาด ราคาและแนวโน้มของตลาดข้าวใน
ปัจจุบัน โดยจะเก็บรวบรวมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งที่เป็นหน่วยงานของรัฐบาลและหน่วยงานเอกชน
ตลอดจนข้อมูลจากหนังสือ เอกสารทางวิชาการ วรรณกรรม งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สารสนเทศออนไลน์ และสิ่ง
ตีพิมพ์ต่างๆ
3.1.2 การก าหนดประชากรและการเลือกสุ่มตัวอย่าง
การเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามระยะที่ 2 โดยการสัมภาษณ์ตัวแทนผู้บริโภคทั้งเพศชายและเพศหญิง
ที่มีหน้าที่หลักหรือมีส่วนในการตัดสินใจซื้อข้าวมาบริโภคในครัวเรือน จ านวน 665 ตัวอย่าง โดยใช้แนวทางที่
เสนอโดย Hair et al., (2006) ในการก าหนดจ านวนประชากรที่ใช้ในการศึกษาและใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบ
บังเอิญ (Accidental Sampling) โดยท าการเก็บข้อมูลตามห้างสรรพสินค้า แหล่งชุมชนและบริเวณที่มี
ประชาชนจ านวนมากในเขตกว่างโจว
การก าหนดจ านวนประชากรที่ใชในการศึกษา ค านวณจากคุณลักษณะและระดับ (ตารางที่ 3) ตาม
แนวทางของ Hair et al. (2006) (อ้างถึงโดย นันทนิตย์, 2016) ดังนี้
= ( ) × ( ) × (5)
= (7) × (19) × (5)
= 665 (11)
โดยที่
= จ านวนตัวอย่าง
= จ านวนคุณลักษณะ (Attributes)
= จ านวนผลรวมของระดับคุณลักษณะ
46