Page 58 -
P. 58
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ที่สุด และสามารถใช้คาดเดาผู้บริโภคข้าวหอมมะลิออกจากผู้ที่ไม่บริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก กลิ่นของข้าวหอม
มะลิไม่ใช่คุณลักษณะที่ส าคัญในการตัดสินใจซื้อโดยทั่วไป แต่เป็นคุณลักษณะที่ต้องการของคนที่นิยมบริโภค
ข้าวหอมมะลิ ซึ่งผู้บริโภคที่ไม่ได้บริโภคข้าวเป็นอาหารหลักจะชอบบริโภคข้าวที่มีลักษณะแข็งและมีความเกาะ
ติดกันน้อยกว่า ท าให้เป็นข้อด้อยของข้าวหอมมะลิในกลุ่มตลาดนี้ ความแตกต่างระหว่างปัจจัยที่ใช้ในการ
ตัดสินใจซื้อระหว่างผู้บริโภคที่บริโภคและไม่บริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก โดยปัจจัยทางด้านการตลาด ราคา
และประเทศผู้ผลิต เป็นปัจจัยที่ใช้แยกแยะกลุ่มได้ดีที่สุด โดยปัจจัยด้านคุณภาพไม่สามารถแยกแยะกลุ่มได้
ข้าวไม่สามารถถูกทดแทนด้วยอาหารให้พลังงานชนิดอื่น แม้ว่าราคาจะเพิ่มขึ้นก็ตาม ดังนั้นคุณภาพและ
ภาพพจน์ที่ดีของประเทศผู้ผลิตจึงเป็นกลยุทธ์ที่ส าคัญในการส่งออกข้าว
ปริศนา สุวรรณาภรณ์ (2554) ได้ท าการศึกษา ความเชื่อและทัศนคติที่มีต่อข้าวเมื่อเทียบกับมันฝรั่ง
และพาสต้า จากกลุ่มตัวอย่างประชากรในสหภาพยุโรปสี่ประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส, เบลเยียม
และเนเธอร์แลนด์ เพื่อการพัฒนาแนวคิดผลิตภัณฑ์ข้าวและศักยภาพในการส่งออก โดยใช้การวิเคราะห์แบบ
คอนจอยท์ แบบสอบถามเชิงปริมาณถูกออกแบบมาเพื่อเข้าถึงทัศนคติของผู้บริโภคข้าว มันฝรั่งและพาสต้า ที่
เกี่ยวกับด้านรสชาติ, ประโยชน์ด้านสุขภาพ, ราคา, ปริมาณแคลอรี่, สารที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย, ความ
น่าเชื่อถือของแหล่งที่มา, คุณสมบัติพิเศษ, ความสามารถในการย่อยอาหาร และภูมิแพ้ พบว่าผู้บริโภคชาว
ยุโรปมีทัศนคติที่ดีต่อข้าวมากกว่ามันฝรั่งและพาสต้าในเกือบทุกด้าน และไม่นิยมบริโภคข้าวพันธุ์วิศวกรรม
การรับรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะด้านรสชาติ, ประโยชน์ด้านสุขภาพ, แคลอรีต่ า และคุณสมบัติพิเศษหรือ
ลักษณะเฉพาะของข้าว คือคุณลักษณะที่ส าคัญที่สุดในการเลือกซื้อข้าวของผู้บริโภคชาวยุโรป ดังนั้นควรมีการ
การส่งเสริมและสร้างการรับรู้ให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลผลิตภัณฑ์ข้าว พัฒนาคุณภาพข้าวให้ดีกว่าและมี
ความแตกต่าง เพื่อให้ตอบสนองและเพิ่มความต้องการการบริโภคข้าวในสหภาพยุโรปได้
อิทธิพงศ์ มหาธนเศรษฐ์ (2556) ศึกษาและประยุกต์ใช้วิธีการทางเศรษฐมิติในการประมาณค่าอุป
สงค์คงเหลือต่อข้าวส่งออกของไทย เพื่อวัดระดับการแข่งขันหรืออ านาจเหนือตลาด ในประเทศจีน อินโดนีเซีย
สหรัฐอเมริกา และแอฟริกาใต้ โดยแบ่งกรณีศึกษาออกเป็น ข้าวรวมทุกชนิด และกรณีแยกประเภทข้าว
ออกเป็น ข้าวหอมมะลิ ข้าวเหนียว และข้าวนึ่ง พบว่าประเทศไทยไม่มีอ านาจเหนือตลาดในการส่งออกข้าวไป
ยังประเทศจีน อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา และแอฟริกาใต้แต่อย่างใด เนื่องจากประเทศไทยต้องเผชิญกับการ
แข่งขันอย่างรุนแรงจากข้าวส่งออกของประเทศเวียดนามและอินเดีย ที่มีความสามารถทดแทนกับข้าวของไทย
ได้อย่างดี และเมื่อแยกพิจารณาข้าวแต่ละชนิดแล้ว พบว่าประเทศไทยไม่มีอ านาจเหนือตลาดในการส่งออก
ข้าวหอมมะลิในตลาดเหล่านั้น ผู้บริโภคส่วนใหญ่ในต่างประเทศมองว่าข้าวส่งออกของเวียดนาม และอินเดีย
สามารถทดแทนกับข้าวหอมมะลิของไทยได้ค่อนข้างดี ซึ่งตามข้อเท็จจริงแล้วข้าวหอมมะลิของไทยมีลักษณะ
โดดเด่นและแตกต่างจากข้าวของคู่แข่งขันค่อนข้างมาก รัฐบาลจึงควรพัฒนาตลาดข้าวหอมมะลิของไทยให้มี
ความโดดเด่นและมีความจ าเพาะมากขึ้น เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศรับรู้ถึงคุณภาพที่
41