Page 64 -
P. 64

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






               3.2 การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา


                        ขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือวิจัย คือ การศึกษาจากเอกสาร รายงาน บทความ ทฤษฎีและงานวิจัยที่

               เกี่ยวข้อง เพื่อก าหนดขอบเขตการวิจัยและสร้างเครื่องมือในการวิจัยให้ครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ของ
               งานวิจัย โดยการวิจัยในครั้งนี้ใช้แบบสอบถามร่วมกับแบบทดลองทางเลือก (Questionnaires and Choice

               Experiment) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยสร้างขึ้นจากการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิและการเก็บ

               รวบรวมข้อมูลภาคสนามระยะที่ 1 เพื่อน ามาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลตามวัตถุประสงค์ มีโครงสร้างของ

               แบบทดลองและแบบสอบถาม การออกแบบคุณลักษณะและระดับคุณลักษณะของแต่ชุดทางเลือก จากการ

               ตรวจสอบหลังจากเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามระยะที่ 2  และการป้องกันความเอนเอียง ดังนี้



               3.2.1 โครงสร้างแบบสอบถาม
                        รูปแบบของค าถามที่ใช้ในแบบสอบถามนั้นมีทั้งที่เป็นค าถามปลายเปิด (Open End Question) และ

               ค าถามปลายปิด (Close End Question) โดยเป็นค าถามที่มีทางเลือกให้ตอบทั้งที่สามารถตอบได้เพียงค าตอบ

               เดียวและหลายค าตอบ และค าถามที่ให้เรียงล าดับก่อนหลัง โครงสร้างแบบสอบถามประกอบด้วย  9 ส่วน

               ได้แก่


               ส่วนที่ 1 พฤติกรรมการบริโภคอาหารและข้าว มีเนื้อหาเกี่ยวกับประเภทของอาหารที่ผู้บริโภคชอบมากที่สุด
               ชนิดของข้าวที่ผู้บริโภคชอบมากที่สุด แหล่งผลิต ความถี่ในการซื้อข้าวหอมมะลิ และปัจจัยที่พิจารณาในการ

               เลือกซื้อข้าว


               ส่วนที่ 2 ค าถามเชิงประสาทสัมผัสของข้าว 4 สัมผัส พร้อมแนวคิดการตลาดทางประสาทสัมผัส (Sensory

               Marketing) เน้นข้าวหอมมะลิไทย ส่วนนี้จะเป็นการตอบค าถามหลักจากได้ทดลองการรับรู้โดยการสัมผัส

               (Sensory Perception) ทดสอบด้วย Blind testing โดยแยกเป็นหัวข้อคุณลักษณะ 4 ลักษณะการรับรู้


               ส่วนที่ 3 รูปแบบการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวหอมมะลิโดยประสาทสัมผัส ท าชุดทางเลือกที่ก าหนดให้ (ชุดที่1)
               โดยมีเพียงตัวเลือกของข้าวที่ใช้ทดลองกับราคาเท่านั้น พร้อมมีการทบทวนทางเลือกในแบบทดสอบและราคา

               ที่เต็มใจจ่าย


               ส่วนที่ 4 แบบประเมินทัศนคติของท่านที่มีต่อชาติพันธุ์นิยม ในส่วนนี้จะสอบถามถึงค่านิยมในการซื้อข้าว

               โดยมีมุมมองด้านชาติพันธุ์นิยมเป็นหลัก


               ส่วนที่ 5 ชุดแบบทดลองทางเลือก รูปแบบการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวหอมมะลิโดยประสาทสัมผัส เปรียบเทียบ

               จากความเต็มใจที่จะซื้อ (ชุดที่2) โดยในส่วนการทดลองนี้จะเพิ่มตัวแปรทางด้านรสชาติ ความหอม ความ

               เหนียวนุ่ม ประเทศต้นก าเนิด ตรารับรองมาตรฐาน และราคา มาประกอบเป็นปัจจัยในชุดทดลองทางเลือก




                                                           47
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69