Page 33 -
P. 33

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                       Krishna (2012) กล่าวถึงการเชื่อมต่อทางสรีรวิทยาระหว่างกลิ่นและความทรงจ า (Herz, 2004) โดย

               กลิ่นนั้นมีความสามารถในการคงอยู่ในหน่วยความจ าและส่งผลกระทบต่อข้อมูลผลิตภัณฑ์อย่างมาก รวมทั้ง
               ช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า Krishna (2012) ยังเน้นถึงพลังของการดึงดูดของกลิ่น โดยเน้นว่ากลิ่น

               สามารถช่วยในการจ าข้อความ ค าพูด หรือข้อมูลที่สื่อสารออกมา กลิ่นที่น่าพึงพอใจสามารถสร้างพฤติกรรม

               การแสวงหาความต้องการซื้อเพิ่ม เช่น การประเมินผลของผลิตภัณฑ์และการใช้เวลาในการช็อปปิ้งในพื้นที่ที่มี
               กลิ่นหอม (Bosmans, 2006)


               2.3.3 เสียง (Audition, Sound)











               รูป 12 The functioning of the sound sense

               ที่มา: Bild & Form Jonny Hallberg. 2009
                       ข้อความการสื่อสารด้านการตลาดส่วนใหญ่ส่งผ่านสื่อ เช่นวิทยุ โทรทัศน์ และเพลงต่างๆ ล้วนเป็นสิ่งที่

               ได้ยิน ซึ่งรวมถึงเพลงที่ได้ยินในพื้นที่ค้าปลีก เช่น ร้านค้าร้านอาหารโรงแรมฯลฯ (Krishna, 2012) นอกจากนี้
               ยังมีผลิตภัณฑ์ที่มีเสียงที่ฝังอยู่ในตัว เช่น โทรศัพท์มือถือพร้อมเสียงเรียกเข้าของแบรนด์นั้นๆ (Yorkston,

               2010) สัญลักษณ์เสียงถูกค้นพบเพื่อสร้างการประเมินแบรนด์สินค้าในทางบวก โดยการสร้างเสียงของแบรนด์
               ให้สอดคล้องกับความคาดหวังของลูกค้า เพลงในการโฆษณาถูกใช้เป็นเวลาหลายปีเพื่อสนับสนุนแบรนด์

               เนื่องจากมีความหมายต่อตราสินค้าและมีความสามารถในการท าให้เกิดความรู้สึกเช่นเดียวกับว่าเป็น

               สัญลักษณ์ของสินค้า (Zhu & Meyers-Levy, 2005)


               2.3.4 รสชาติ(ต่อมรับรส) (Taste, taste buds)








               รูป 13 The tongue’s taste buds
               ที่มา: Bild & Form Jonny Hallberg. 2009




                                                           16
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38