Page 28 -
P. 28

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                     จากข้อมูลสถิติการค้าและประเด็นปัญหาที่พบในตลาดจีนข้างต้นจึงเป็นได้ทั้งโอกาสและความเสี่ยง

               ของข้าวไทย และจากการศึกษาทบทวนงานวิจัยที่ผ่านมาผู้วิจัยพบว่างานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการ

               เลือกซื้อและความพึงพอใจของผู้บริโภคในประเทศไทยที่ผ่านมามีจ านวนมาก แต่ไม่พบงานที่ศึกษาทางด้าน

               การทดลองการรับรู้ทางประสาทสัมผัสและพฤติกรรมการสับเปลี่ยนตราสินค้าข้าวไทยในผู้บริโภคชาวจีน
               ด้วยเหตุนี้จึงท าให้เกิดเป็นแรงจูงใจในการท าวิจัยเกี่ยวกับการทดลองการรับรู้ทางประสาทสัมผัสและใน

               ขณะเดียวกันก็จ าเป็นต้องมีการศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อข้าว ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อข้าวหอม

               พฤติกรรมการสับเปลี่ยนตราสินค้า ตลอดจนความพึงพอใจและความเต็มใจจ่ายของผู้บริโภคด้วย โดยมีค าถาม

               งานวิจัย ดังนี้


                      1) การศึกษาครั้งนี้พยายามหาค าตอบ ในด้านความเข้มแข็งของคุณภาพข้าวหอมมะลิไทยต่อความเต็ม

               ใจจ่ายของผู้บริโภคชาวจีนว่าอยู่ในระดับใดเมื่อเทียบกับข้าวหอมจากประเทศอื่นๆ ผ่านการทดลองการรับรู้
               ทางประสาทสัมผัส โดยใช้เกณฑ์เดียวกับ World’s Best Rice และท าการทดลองแบบ Blind Testing ใน

               คุณลักษณะด้านกลิ่น ความหอม รสชาติ ความเหนียวนุ่มและรูปร่างลักษณะ


                       2) พฤติกรรมการเลือกซื้อข้าว และพฤติกรรมการบริโภคข้าวของผู้บริโภคชาวจีนในปัจจุบันเป็นอย่างไร


                      3) จากประเด็นปัญหาที่พบในตลาดจีนข้างต้น ทัศนคติของผู้บริโภคชาวจีนที่มีต่อข้าวไทยปัจจุบันเป็น

               อย่างไร ภาพลักษณ์และชื่อเสียงของข้าวไทยในตลาดจีน ข้าวไทยยังคงได้รับความนิยมและได้รับการยอมรับ
               จากผู้บริโภคชาวจีนว่าเป็นข้าวที่มีคุณภาพและมีคุณลักษณะที่ดี มีความแตกต่างจากข้าวของประเทศ

               เวียดนาม ประเทศกัมพูชาหรือประเทศจีน หรือไม่


                      4) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวและพฤติกรรมการสับเปลี่ยนตราสินค้าของผู้บริโภคชาวจีน

               เป็นอย่างไร


                      5) ประเทศไทยสามารถสร้างความสามารถและความได้เปรียบทางการแข่งขันได้อย่างไรบ้าง ทั้งในเชิง

               นโยบาย การส่งเสริมทางการตลาดและการพัฒนาด้านต่างๆ ท าอย่างไรให้สามารถสร้างและรักษาความภักดี
               ในตราสินค้าข้าวไทยของผู้บริโภคชาวจีน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการสับเปลี่ยนตราสินค้า


                         ผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลการศึกษาของโครงการงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้ที่สนใจ

               เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรไทย ต่อการด าเนินงานของภาคเอกชน ผู้ประกอบการส่งออกสามารถน าไปใช้ใน

               การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ทางการท าตลาด เพื่อก่อให้เกิดความไว้วางใจ ความพึงพอใจ น าไปสู่การบอกต่อและ

               เกิดพฤติกรรมการซื้อซ้ าของผู้บริโภค ตลอดจนเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐในการก าหนดกลยุทธ์แผนพัฒนาข้าว
               ไทย การด าเนินนโยบายส่งเสริมแนวทางในการวางแผนการผลิตและการตลาดของประเทศไทยต่อไป







                                                           11
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33