Page 31 -
P. 31

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                       ประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส เป็นผลมาจากปฏิกิริยาของความรู้สึกต่อองค์ประกอบที่แตกต่างกัน

               ก่อให้เกิด รูปแบบการตลาดที่มีองค์ประกอบ ตัวกระตุ้นเหล่านี้ ที่ถูกเรียกว่า "สิ่งเร้า" ในบริบททางจิตวิทยา
               แบบดั้งเดิม และในบทต่อ ๆ ไปจะมีการอธิบายอย่างละเอียดมากขึ้นเกี่ยวกับบทบาทของประสาทสัมผัสทั้งห้า

               ของมนุษย์ในประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสของแต่ละบุคคลในเรื่องของอาหารหรือการน าเสนอแบรนด์

                       นักวิจัยที่สถาบันการแพทย์ Howard Hughes ในสหรัฐอเมริกาเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงจะดึงดูดความ
               สนใจของความรู้สึกของมนุษย์มากกว่าสิ่งอื่น ประสาทสัมผัสของเราได้รับการปรับแต่งให้เข้ากับการ

               เปลี่ยนแปลงอย่างประณีต วัตถุที่นิ่งหรือไม่มีการเปลี่ยนแปลงกลายเป็นส่วนหนึ่งของทิวทัศน์และจะถูกกลืน
               หายไป เสียงที่ธรรมดาไม่โดดเด่นจะกลายเป็นเสียงพื้นหลังหรือสามารถเรียกได้ว่าเสียงประกอบ หากบางสิ่งใน

               สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป เราจ าเป็นต้องเตือนตัวเองให้รับรู้อยู่ตลอดเพราะอาจหมายถึงอันตราย หรือ

               โอกาสที่จะเข้ามาก็ได้ (Howard Hughes Medical Institute, 1995)
                       ความรู้สึกมีความส าคัญอย่างยิ่งต่อประสบการณ์การด ารงอยู่ของมนุษย์และหากปราศจากความรู้สึกก็

               ไม่สามารถสร้างความประทับใจได้ มันเป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าใจ รู้สึก เรียนรู้ หรือคิดโดยปราศจากความรู้สึก
               ประสาทสัมผัสทั้งห้าของมนุษย์นั้นท าหน้าที่ให้ข้อมูลที่มีค่าเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ผ่านทางกลิ่น เสียง ภาพ รสชาติ

               และสัมผัส แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วกันว่าเรามีประสาทสัมผัสมากกว่าห้าสัมผัส – ตัวอย่าง เช่น สมดุล

               อุณหภูมิและความเจ็บปวด
                       มนุษย์ได้สงสัยมานานแล้วว่าความคิดของเรามาจากไหนซึ่งส่งผลให้ความสนใจในความส าคัญของ

               ความรู้สึกของมนุษย์เพิ่มขึ้น ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานักวิจัยเชี่ยวชาญด้านสมองได้ทดลองวิธีต่างๆในการ

               ก าหนดว่า สัญญาณไฟฟ้าที่เกิดจากจากความรู้สึกของคนเรานั้น เกิดขึ้นและส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาในแง่ของ
               พฤติกรรมได้อย่างไร

                       เจ้าของรางวัลโนเบล David Hubel และ Torsten Wiesel ค้นพบว่า เซลล์ประสาท Tangible
               neocortex ของแมว ซึ่งอยู่ด้านหลังของสมองตอบสนองเมื่อตาสัมผัส หรือมองเห็นเส้นที่มีต าแหน่งและมุม

               พบว่าเซลล์ประสาทในสมองนั้นสามารถระบุรูปภาพและตอบสนองต่อส่วนต่างๆของภาพด้วยความแม่นย า

               อย่างไม่น่าเชื่อ การวิจัยครั้งนี้น าไปสู่การมุ่งเน้นมากขึ้นในด้านงานวิจัยทางการแพทย์เกี่ยวกับความสามารถ
               ของเซลล์ประสาทเดี่ยวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของความรู้สึกการมองเห็น (Krishna et al., 2012)  อวัยวะ

               รับรู้ที่อยู่บนหัวของเรา (ปาก จมูก ตาและหู) เป็นสื่อกลางในการกระตุ้นสมองมนุษย์โดยตรง อวัยวะรับสัมผัส
               อื่นๆจะส่งแรงกระตุ้นไปยังระบบประสาทผ่านทางเส้นประสาทผ่านไขสันหลังไปยังสมอง เราจะใช้ข้อมูลที่

               อวัยวะรับสัมผัสเป็นสื่อกลางส่งผ่านเซลล์หรือตัวรับนั่นเอง

                       ข้อมูลหรือสิ่งกระตุ้นที่มากระตุ้นเซลล์หรือตัวรับจะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้ายกตัวอย่าง เช่น
               ต าแหน่งของร่างกายและความตึงของกล้ามเนื้อจะท างานร่วมกันเพื่อให้เรารักษาสมดุลของร่างกายให้ตั้งอยู่ได้

               การรับรู้ถึงความรู้สึกมีสติรับรู้สิ่งจะเกิดขึ้น เมื่อมีแรงกระตุ้นมากระตุ้นเส้นประสาทแล้วส่งสัญญาณมาจนถึง

               สมอง เมื่อข้อมูลมาถึงสมองของมนุษย์คนๆ หนึ่งจะรู้สึกตัว เกิดการแปลสัญญาณ เช่น กลิ่น แสง หรือรสชาติ






                                                           14
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36