Page 118 -
P. 118

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
          จารึกชีวิต




          หลังพ่อขุนรามคำาแหงฯ ตั้งหลายร้อยปี นอกจากนี้ ยังมีเรื่องภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ศาสนา
          ฯลฯ ที่จะศึกษาได้จากจารึกหลักนี้


                มาบัดนี้ มีผู้กล่าวหาว่าจารึกหลักนี้เขียนขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า
          เจ้าอยู่หัว โดยยกข้อสังเกตหลายข้อ เช่น “ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสาม ผู้หญิงสอง พี่เผือ
          ผู้อ้ายตายจากเผือเตียมแต่ยังเล็ก” ตู คือ เราทั้งหลายไม่รวมผู้ฟัง มีห้าคน ทำาไมจึงใช้ พี่เผือ

          ผู้อ้าย หรือ พี่ชายคนหัวปีของเราทั้งสอง (แทนที่จะเป็นเราสี่) ตายจากเราทั้งสองตั้งแต่ยังเล็ก

          ตามความหมายที่ยังพูดกันอยู่ในกลุ่มชาวไทในเมืองจีน หาว่าผู้เขียนจารึกเข้าใจผิดว่า ตู และ
          เผือ แปลว่า เราทั้งหลายทั้งสองคำา ข้าพเจ้าอธิบายว่า ผู้ชายทั้งสาม อาจเป็นพี่ชายของ
          น้องหญิงสองคน และพี่ชายคนแรกตายตั้งแต่น้องสาวยังไม่เกิด จะว่าพี่ชายตายจากเราทั้งสี่

          อย่างไรได้ หรือว่าลูกหญิงสองคนเป็นพี่ของน้องชายสามคน จะว่าน้องชายคนโตเป็นพี่ของ

          ทั้งสี่คนได้อย่างไร

                ขอยกตัวอย่างอีกเรื่องหนึ่ง เขาว่าจารึกหลักนี้เขียนหลังเมื่อ ข ไข่ และ ข ขวด ออกเสียง
          เหมือนกันไปแล้ว จึงเขียนสับสนไม่ตรงกับที่หลีฟ้งก้วยสานคำากลับไปเป็นภาษาไทยดั้งเดิมแล้ว

          แต่ศาสตราจารย์ดิลเลอร์แห่งออสเตรเลียว่า ไทขาวยังออกเสียง ข ไข่ ต่างจาก ข ขวด อยู่
          และคำาในจารึกพ่อขุนรามฯ ใช้ ข สองชนิดนี้ ๑๖ คำา ใช้ตรงกับคำาไทขาว ๑๕ คำา มีผิดกันเฉพาะ

          มะขาม ซึ่งเป็นชื่อไม้ผลที่เข้ามาจากทวีปอื่นภายหลัง หูไทขาวกับไทยสุโขทัยอาจฟังแล้ว
          เลียนเสียงไม่ตรงกันก็ได้ แต่คำาอื่น เช่น เข้าออก ก็จะใช้ ข ขวดทุกคำาที่ปรากฏ และ เข้า

          ในความหมายว่า ข้าว ก็จะใช้ ข ไข่ เหมือนกันทุกตัว เราสามารถจะชี้แจงข้อสงสัยได้ทุกประเด็น
          นอกจากนั้น กรมศิลปากรยังใช้วิธีพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ว่า ผิวนอกของจารึก และรอยขูด

          ตัวอักษร ถูกอากาศผุกร่อนไปตามเวลา วัดได้ว่ากร่อนไปพอๆ กับจารึกสุโขทัยหลักอื่นที่ใช้หิน
          ชนิดเดียวกันเมื่อ ๗๐๐ ปีมาแล้ว ไม่ใช่เพิ่งขูดใหม่เมื่อ ๑๕๐ ปีมานี้แน่ แต่ผู้กล่าวหาไม่ยอมเชื่อ

          อ้างว่าคนพิสูจน์เป็นข้าราชการกรมศิลปากร ต้องเข้าข้างพวกที่ว่าจารึกเป็นของเก่าทั้งๆ ที่
          ผู้ร่วมวิจัยหาอายุจารึกมีอาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์จากมหาวิทยาลัย

          เกษตรศาสตร์ และนักวิทยาศาสตร์จากกรมทรัพยากรธรณีร่วมอยู่ด้วย

                อีกประการหนึ่ง พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึง
          เซอร์จอห์นเบาริง มีคำาที่ทรงอ่านผิดอยู่บางแห่ง และที่ทรงตีความหมายผิดก็หลายคำา ทั้งนี้

          เพราะภาษาในจารึกหลักนี้เป็นภาษาโบราณมาก จนบัดนี้ แม้จะได้พจนานุกรมภาษาถิ่นจาก

          ในและนอกประเทศมาช่วยอีกหลายภาษา เราก็ยังตีความในจารึกหลักนี้ไม่ได้ทั้งหมด ตามข้อ
          กล่าวหาว่าจารึกหลักนี้ทำาขึ้นเพื่อให้ฝรั่งเห็นว่าคนไทยเจริญรุ่งเรืองมากกว่า ๕๐๐ ปีแล้ว (นับถึง
          ขณะนั้น) เหตุใดจึงเขียนด้วยตัวอักษรที่คนไทยปัจจุบันอ่านไม่ออก และใช้คำาโบราณที่ยังแปล

          ไม่ได้หมดทุกคำา แล้วจะไปโฆษณาชวนเชื่อให้ฝรั่งที่ไหนมาอ่านมาฟัง

          116
   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123