Page 113 -
P. 113

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
                                                                ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร




                             หาญเราต่อเต่งง้วง ไหงวยฤา

                         แปลว่า ทวยหาญของเราจะสู้กับช้างไหวหรือ

                         ผมเองค้นพบว่า ฟล เคยเป็นอักษรควบโบราณ เช่น ฟิก-หลีก เฟอะ-เลอะ เฟะ-เละ

                  เฝือ-เหลือ และสระเอือ สระอา แทนกันได้ เพราะเราใช้เอือ จ้วงเป็นอา และเราใช้อา แต่จ้วง
                  ใช้เอือ ฉะนั้น เหราเฟือดฟัดฟอง คือ ค่าย งามเอย (หริภุญชัย) เฟิด = ฟาด ล้านนาใช้ เตื้อ

                  แปลว่า ครั้ง ตรงกับ ท่า ในกราบงามสามท่า คือกราบสามครั้ง

                         คำาว่าม่วนแปลว่าสนุก หาคำาภาคกลางไม่ได้ จนกระทั่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ

                  ทรงใช้ม่วนชื่น ถึงได้รู้ว่าตรงกับ ชื่นมื่น นี้เอง ม่วน-มื่น

                         ต่อจากนี้ไปจะพูดถึงความสัมพันธ์กันระหว่างวิชาต่างๆ ดังนี้

                         ท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง พระยาเจือง เป็นบรรพบุรุษของคนไทยที่มีชื่อเสียงมาก ตำานานต่างๆ
                  บอกศักราชไว้ไม่ตรงกัน ผิดกันถึง ๕๐๐ ปีก็มี มีดวงชะตาบอกไว้ ทำาให้เกิดความหวังว่าจะหา

                  วันเดือนปีเกิดได้ ปรากฏว่าดวงนั้นเป็นดวงปลอม เพราะตามดาราศาสตร์ อาทิตย์-พุธ จะห่าง
                  กันเกินราศีหนึ่งไม่ได้ และอาทิตย์-ศุกร์ จะห่างกันเกินสองราศีไม่ได้ แต่ดวงชะตาผูกโดยโหร

                  ไม่ทราบเรื่องนี้จึงวางดาวแต่ละดวงในราศีที่จะทำาให้ชะตาแข็งที่สุด ทำาให้อาทิตย์กับศุกร์ห่างกัน
                  ถึงหกราศีซึ่งเป็นไปไม่ได้ เรื่องนี้ทำาให้นึกถึงดวงของชูชก อาจารย์มีวิธีสอนให้ลูกศิษย์จำาว่า

                  ดวงอย่างนี้จะมีนิสัยเลวเหมือนชูชก ลูกศิษย์เลยจำาดวงได้แม่นยำา แต่เข้าใจผิดไปว่าเป็นดวง
                  ของชูชกจริงๆ


                         โบราณกล่าวถึงชื่อเมืองอย่างมีระบบ โดยบอกเมืองที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของ
                  เมืองหลวงก่อน เพราะเป็นทิศหน้าของพระพุทธศาสนา แล้วบอกกวาดลงไปตามเข็มนาฬิกา

                  ถึงทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันตกเฉียงใต้ ตะวันตก ผ่านเหนือลงไปทางทิศตะวันออกเป็นที่สุด
                  เช่น เมืองสมัยพระเจ้าลิไทย มีสระหลวงสองแคว (พิษณุโลก ฝั่งตะวันตกแม่นำ้าน่าน) ปากยม

                  (สิ้นสุดนำ้ายมที่ไปรวมกับนำ้าน่านที่พิจิตร) พระบาง (นครสวรรค์) ชากังราว สุวรรณภาว
                  นครพระชุม (๓ เมืองอยู่ที่กำาแพงเพชร) เมืองใน.....เมืองพาน เมือง.....เมืองราด เมืองสะค้า

                  เมืองลุมบาจาย พิษณุโลก ฉะนั้นเมืองราดจึงอยู่เหนือพิษณุโลกขึ้นไป ไม่ใช่เมืองเพชรบูรณ์
                  และตามที่ ร.ศ. สินชัย กระบวนแสง พบใบลานที่วัดพญาภู เมืองน่าน ว่าสมัย ร.๑ ต่อกับ ร.๒

                  เจ้าผู้ครองน่านขึ้นตามนำ้าน่านไปถึงอำาเภอท่าปลา (อุตรดิตถ์) ใกล้ห้วยแม่จริม เมืองราดเก่านั้น
                  แสดงว่าเมืองราดอยู่ที่อำาเภอท่าปลา

                         เมืองชัยปราการในตำานานทางเหนือเข้าใจกันว่าอยู่ที่อำาเภอฝาง (เชียงใหม่) แต่จาก

                  ระยะทางที่พระเจ้าบุเรงนองให้วัดระยะทางจากเชียงใหม่ถึงเชียงราย เท่ากับเชียงใหม่ถึง



                                                                                             111
   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118