Page 111 -
P. 111
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร
๗) การใช้เหตุผลตามหลักวิทยาศาสตร์ทำาให้เห็นแง่มุมที่จะช่วยในการอ่านและตีความ
ศิลาจารึกได้เป็นอย่างดี
ขอยกตัวอย่างเพื่อแสดงประโยชน์ของภาษาถิ่นและวิชาภาษาศาสตร์ให้เห็น ในภาษา
ถิ่นล้านนานั้นมีลักษณะควรพิจารณา ดังนี้
* การกลายเสียงของพยัญชนะ
หลักที่ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕
วรรค กะ ก ข ค ฆ ง
จะ จ ฉ ช ฌ ญ
ฏะ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
ตะ ต ถ ท ธ น
ปะ ป ผ พ ภ ม
เศษวรรค ย ร ล ว ส ห ฬ อ
กฎข้อที่ ๑ ภาษาถิ่นล้านนาเดิมออกเสียงพยัญชนะหลักที่ ๓ (อักษรตำ่า) ไม่ได้ ใช้เสียง
พยัญชนะหลักที่ ๑ (อักษรกลาง) ในวรรคเดียวกันแทน เช่น เค้า เป็น เก๊า ช้าง เป็น จ๊าง
ทุ่ง เป็น ต้ง พ่อ เป็น ป้อ
กฎข้อที่ ๒ ภาษาถิ่นล้านนาออกเสียง ร เป็น ฮ เช่น รักโรงเรียน เป็น ฮักโฮงเฮียน
กฎข้อที่ ๓ ภาษาถิ่นล้านนาออกเสียง ฉ เป็น ส เช่น แม่ (นำ้า) ฉอด เป็นแม่สอด
กฎข้อที่ ๔ พยัญชนะหลักที่ ๑ ควบกับ ร กลายเป็นพยัญชนะหลักที่ ๒ ในวรรคเดียวกัน
เช่น กราบ-ขาบ ตรา-ถา ปราบ-ผาบ เราอาจอธิบายได้ดังนี้ เวลาเขียนเป็นอักษรโรมัน ก-k
ข-kh คือ ก+ฮ นั่นเอง ล้านนาออกเสียง ก+ร เป็น ก+ฮ หรือเป็น kh จึงเป็น ข นั่นเอง
กฎข้อที่ ๕ ภาษาล้านนาไม่มีเสียงอักษรควบกับ ร และอักษรควบกับ ล เช่น ปลา
ออกเสียงเป็น ป๋า
ในไทยหลายถิ่นออกเสียง น ด และ ล เป็น ล ไปทุกตัวเหมือนคนจีนออกเสียงเดินดิน
เป็น เลิงลิง ภาษาไทยใหญ่กาเลหม่านไต ก็คือ กว่าเดร่บ้านไทย หรือไปเตร่บ้านไทย นั่นเอง
109