Page 112 -
P. 112

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
          จารึกชีวิต




                * การกลายเสียงของสระ

                                       หน้า     กลาง     หลัง

                เปิดปาก  แคบ            อี      อือ      อู


                          ปานกลาง          เอ    เออ    โอ

                          กว้าง             แอ    ออ

                                             อา


                สระหน้า อี เอ แอ มักจะแทนกันได้ เช่น อาเม ของไทยใหญ่อาจตรงกับ อ้าแม่

                สระกลาง อือ เออ อา มักจะแทนกันได้ เช่น ถึง-เถิง กึ่ง-เกิ่ง

                สระหลัง อู โอ ออ อาจแทนกันได้ เช่น มุ่ง-ม่ง สอง-โสง


                สระเอีย อี+อา คือปิดปากออกเสียงอี แล้วเปิดปากออกเสียงอา รวมเป็น เอีย พวก
          ไทใหญ่จะเปิดเสียงปานกลางเป็นเสียงเอไป สระเอือ คือ อือ+อา ไทใหญ่ใช้สระเสียงกลาง คือ
          เออ เช่น เมื่อ เป็น เม่อ สระอัว คือ อู+อา หรือ อัว ไทใหญ่ออกเสียงเป็นโอ เช่น พ่อขุนนำ้าถ้วม

          เป็น พ่อขุนนำาถม เป็นต้น

                สระ อา+อือ ตรงกับสระไอสมัยโบราณ ออกเสียงยาก ล้านนาจึงออกเสียงเป็น อือ เช่น

          ให้ เป็น หื้อ ไทใหญ่ออกเสียง อา+อือ เป็น เอ เช่น ใจ เป็น เจ้อ

                * การกลายเสียงของวรรณยุกต์

                เช่น ชาง ช่าง ช้าง ล้านนาออกเสียงเป็น จาง จ้าง จ๊าง

                แต่อีสานออกเสียงเป็น ซ้าง ซาง ซ่าง


                อักษรควบกลำ้า มล เช่น แมลบ ล้านนาใช้ แมบ ภาคกลางใช้ แลบ และปักษ์ใต้ยังคง
          ออกเสียงแมลบอยู่  มลื่น ล้านนาเป็น มื่น ภาคกลางเป็น ลื่น  มล้าง ล้านนาเป็น ม้าง ภาคกลาง
          เป็น ล้าง  มลาย ล้านนาใช้ มาย แปลว่า คลายออก แต่ภาคกลางไม่มี ลายในความหมายนี้

          ประเทศลาวใช้ไม้มาย แทนไม้มลาย แปลว่าไม้คลายออก ตรงข้ามกับไม้ม้วน

                ลว ควบกัน เช่น หลวัก - จารึกหลัก ๑ ของพ่อขุนรามคำาแหงมหาราช แปลว่า

          ฉลาดหลักแหลม ล้านนาใช้ หลวก แปลว่า ฉลาด ภาคกลางใช้ หลัก

                งว ควบ เช่น งว้าย - บ่ายหน้ากลับ ภาคกลางใช้ บ่าย ในยวนพ่ายบทที่ ๒๖๘






          110
   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117