Page 110 -
P. 110
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
วิิชาประวัติศาสตร์ จารึก อักษรโบราณและคณิตศาสตร์
ในห้วงชีวิตของข้าพเจ้า
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร
ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติมาในงานฉลองวันเกิดปีที่ ๘๘ ของผม ซึ่งตรงกับวันที่
๒๑ มีนาคม ๒๕๕๐ โดยเฉพาะ อาจารย์จรุงเกียรติ ภูติรัตน์ ผู้ประสานงานให้เกิดงานวันนี้ขึ้น
เขาบอกให้ผมมาพูดเรื่องดังปรากฏข้างบนนี้ อาจารย์จรุงเกียรติคงตั้งใจจะให้คนทั่วไปได้
ทราบว่าผมค้นคว้าวิจัยและถนัดในทางใดบ้างกระมัง
ความรู้ทั้งหลายเป็นสหวิทยาการ ประวัติศาสตร์ไทยมาถึงทางตันแล้ว เพราะข้อมูล
ประวัติศาสตร์มีอยู่จำากัด จำาเป็นจะต้องใช้วิชาอื่นมาช่วยเสริมให้เข้าใจประวัติศาสตร์ของเรา
ให้ดีขึ้น ผมเข้ามาศึกษาศิลาจารึก ซึ่งผมไม่เคยเข้าเรียนในชั้นใดมาก่อนเลย และได้ความรู้ใหม่
ทางศิลาจารึกเพิ่มขึ้นเนื่องจากพื้นฐานดังต่อไปนี้
๑) ผมเกิดที่เมืองแพร่ ทำาให้ได้รู้ภาษาถิ่นล้านนา ซึ่งช่วยทำาให้แปลจารึกสุโขทัยได้
เป็นอย่างดี และยังอาศัยพจนานุกรมภาษาถิ่นทั้งในและนอกประเทศเพื่อการนี้ด้วย ภาษาถิ่น
ช่วยให้เข้าใจภาษาศาสตร์ได้ง่ายขึ้น
๒) ภาษาศาสตร์ช่วยให้ตีความศัพท์โบราณที่ปรากฏในศิลาจารึกได้เป็นอย่างดี
๓) ผมได้ปริญญาธรรมศาสตรบัณฑิต วิชานี้สอนให้จับความสำาคัญของเรื่องได้ และ
ทราบนำ้าหนักของคำาแต่ละคำา ช่วยให้ตีความหมายของประโยคแต่ละประโยค
๔) ผมชอบคิดปริศนาอักษรไขว้ เช่น คำามี ๕ อักษร ได้ไว้ ๔ อักษรแล้ว ตัวที่ ๕
อาจจะเป็นอะไรก็ได้บ้าง ตัวใดจะสื่อความหมายได้ดีที่สุด และถ้ามีเพียง ๒ ตัวอักษร อีก ๓
อักษรควรจะเป็นอะไรได้บ้าง
๕) เมื่อเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ณ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นักเรียนทุกคน
ต้องสนใจศึกษาวิชาภาษาไทย เพราะถ้าสอบภาษาไทยตก ถึงคะแนนรวมจะได้ ๘๐ ใน ๑๐๐
คะแนนก็ต้องเรียนซำ้าชั้น ผมได้ศึกษาวรรณคดีโบราณได้ศัพท์ไว้เป็นทุนมากมาย
๖) นิสัยไม่ยอมแพ้ถ้ามีปัญหาจะต้องหาทางแก้ไขให้ได้ เวลาคิดโจทย์เลขจะต้องหาวิธี
แก้โจทย์หลายวิธี เอาวิธีสั้นที่สุดไว้อธิบายนักคำานวณด้วยกัน หาวิธีที่ง่ายแต่อาจจะยาว
ไว้อธิบายผู้ที่ไม่เชี่ยวชาญวิชาคำานวณ
*ลงพิมพ์ในวารสาร ELANG ฉบับเดือนกันยายน ๒๕๕๐ หน้า ๑๔ - ๑๗.
108