Page 117 -
P. 117
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำาแหงมหาราช*
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร
คนไทยควรจะภูมิใจอย่างยิ่งที่เรามีตัวเลขไทย ในขณะที่ชาติมหาอำานาจหลายชาติต้อง
ขอยืมตัวอักษรของผู้อื่นมาใช้เป็นอักษรตน
ก่อนสมัยสุโขทัย ชาติไทยเคยรุ่งเรืองอยู่ที่ไหน อย่างไร ไม่มีหลักฐานยืนยันให้ทราบ
แน่ชัด แต่เมื่อพ่อขุนรามคำาแหงมหาราชได้ประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖ ตั้งแต่
นั้นมาเราจึงมีจารึกและพงศาวดารเหลืออยู่เป็นหลักฐานยืนยันว่า ชาติไทยเคยรุ่งเรืองมา
อย่างไรบ้างในยุคสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์
ชาติต่างๆ ที่ดัดแปลงอักษรอินเดียมาเป็นอักษรของตนนั้นไม่มีชาติใดเพิ่มพยัญชนะ
และสระขึ้น เพราะเกรงจะทำาลำ้าหน้าครู เช่น เขมรโบราณ เขียน เบก อย่างเดียวแทน เบก แบก
เบิก ได้ และ ด ต ใช้อักษรรูปเดียวกัน คนพื้นเมืองรู้ภาษาของตนเอง ย่อมจะอ่านออกเสียงได้ถูก
ไทใหญ่เขียน มี อาจออกเสียงเป็น มี เม แม และอาจอ่านออกเสียงวรรณยุกต์ต่างๆ กันไปได้
๑๕ แบบ ยากที่จะวินิจฉัยว่าเป็นคำาไหนกันแน่ มีมอญ ที่ประดิษฐ์ตัวอักษร บ โดยเติมวงกลม
เข้าในอักษร ป ของอินเดีย แต่พ่อขุนรามคำาแหงฯ ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรเพิ่ม เช่น บ ด อ และ
ประดิษฐ์วิธีเขียนสระที่ไม่มีในภาษาบาลี เช่น แอ เอีย เออ และประดิษฐ์รูปวรรณยุกต์ ซึ่งเข้าใจว่า
จะเป็นชาติเดียวในโลกในขณะนั้นที่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์ ทำาให้ออกเสียงวรรณยุกต์ได้
ครบถ้วน จึงสามารถเขียนคำาไทยได้ตรงตัวหมดทุกคำา นอกจากนั้นยังเลิกใช้ ตัวเชิง หรือตัว
พยัญชนะที่เขียนใต้พยัญชนะต้น ทำาให้ไม่ต้องจำาวิธีเขียนและวิธีอ่านตัวเชิงรูปต่างๆ และสามารถ
อ่านและเขียนหนังสือได้เร็วขึ้นอีกเท่าตัว
ฝรั่งยกให้ คัมภีร์ไบเบิ้ล เป็นวรรณคดีเรื่องแรกที่ทุกคนจะต้องศึกษา ข้าพเจ้าเสนอให้
จารึกพ่อขุนรามคำาแหงฯ เป็นวรรณคดีเรื่องแรกที่นิสิตอักษรศาสตร์ควรจะต้องศึกษาได้ละเอียด
นอกจากจะให้รสทางวรรณคดีแล้ว จารึกหลักนี้ยังได้บันทึกเรื่องเกี่ยวกับการปกครอง
ของไทยสมัยสุโขทัยเป็นแบบพ่อปกครองลูก เมื่อประชาชนเดือดร้อน จะร้องทุกข์ถึงพระ-
มหากษัตริย์ได้โดยวิธีไปสั่นกระดิ่งร้องทุกข์ มีเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน ใครหักร้างถางพงสร้างสวน
ผลไม้ได้ ก็จะมีกรรมสิทธิ์ในที่นั้น และเมื่อตายมรดกจะตกทอดไปถึงลูกหลานได้ ได้เชลยศึก
มาก็ไม่ฆ่าไม่เฆี่ยนตี เรื่องการปฏิบัติต่อเชลยเป็นเรื่องที่นานาชาติเพิ่งมาประกาศกันเอิกเกริก
*ลงในวารสารไทย ฉบับที่ ๑๐๕ พ.ศ. ๒๕๕๑
115