Page 75 -
P. 75

โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                                                         วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์   ปีที่ 41 ฉบับที่ 2   69



             แล้วนำเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้  เพื่อทดสอบความเข้าใจเรื่องความหลากหลายอย่างลึกซึ้ง  ซึ่งพบว่า
             กระบวนการเรียนรู้ใน 3 โครงการได้กำหนดไว้ชัดเจน คือ การรู้จักคนอื่น ชาติพันธุ์อื่น หรือประสบการณ์
             ชีวิตที่แตกต่างกัน  พื้นที่ชุมชนที่แตกต่างไปจากประสบการณ์การเรียนรู้เดิมของกลุ่มเป้าหมาย  เป็นต้น
             ส่วนกระบวนการเรียนรู้ของรุ่นพี่ที่จัดกระบวนการให้รุ่นน้องนักศึกษาเน้นให้เห็นพื้นที่การเรียนรู้ที่
             หลากหลาย  โดยทั้ง  5  กรณีศึกษาให้ความสำคัญกับการสรุปบทเรียนภายหลังการเรียนรู้  ทั้งแบบที่เป็น

             ทางการและไม่เป็นทางการ โดยให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล
                      ในระหว่างการจัดกระบวนการของทั้ง  5  กรณีศึกษาให้ความสำคัญกับการเติบโตทั้งในระดับ
             ปัจเจกและระดับกลุ่ม  เมื่อเกิดปรากฏการณ์ที่ผิดปกติในระหว่างกระบวนการจะนำปรากฎการณ์นั้นจุด

             ประกายการเรียนรู้  กระตุ้นให้ใช้กระบวนการกลุ่มมาช่วยในการแก้ไขปัญหาและหาทางออกร่วมกัน  ภาย
             ใต้ความเชื่อว่าพลังกลุ่มจะมีส่วนช่วยกระตุ้นการเรียนรู้  สนับสนุนการท้าทาย  และกล้าเผชิญหน้ากับการ
             เรียนรู้ใหม่ๆ
                      บทบาทของผู้จัดกระบวนการหรือพี่เลี้ยงมีความสำคัญต่อการสร้างกระบวนการกลุ่มให้เกิดขึ้น
             โดยการสร้างพื้นที่ปลอดภัย (building container) ให้กับผู้เข้าร่วมกระบวนการ ซึ่งมี 2 โครงการที่ใช้วิธี

             การสร้างพื้นที่ปลอดภัย (building container) ในกระบวนการ คือ โครงการพัฒนาคนรุ่นใหม่เพื่อการ
             เปลี่ยนแปลงสังคมและโครงการค่ายเมล็ดพันธุ์สันติวิถี แต่ใช่ว่าอีก 3 กรณีศึกษาจะไม่ได้ให้ความสำคัญ
             โดยพบว่าในระหว่างกระบวนการ  มีการท้าทายคนรุ่นใหม่ในโครงการหรือในกลุ่มให้ก้าวข้ามวิธีคิด  ความ

             เชื่อ วิถีชีวิตบางอย่างของตนเองอยู่เสมอ หรือในทางทฤษฎีเรียกว่าพื้นที่สบาย (comfort zone) โดยเชื่อ
             ว่าการก้าวข้ามจากพื้นที่สบาย (comfort zone) สู่พื้นที่ปลอดภัย (building container) ที่กระบวนการ
             กลุ่มร่วมกันสร้างขึ้น  จะนำมาสู่การเรียนรู้และช่วยให้ผู้เข้าร่วมฯได้ขยายพื้นที่ปลอดภัยของตนเองได้
             กว้างขวางมากขึ้น  (George  Lakey.  2010)  ซึ่งเป็นบทบาทของผู้จัดกระบวนการในการช่วยสร้าง
             บรรยากาศให้เหมาะสมเพื่อสนับสนุนให้ผู้เข้าร่วมฯกล้าก้าวออกมาสู่พื้นที่แห่งการเรียนรู้

                      2.2 การเรียนรู้ท่ามกลางการปฏิบัติ
                      การเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบันที่โลกเต็มไปด้วยความสลับซับซ้อน  วิกฤตต่างๆ  ที่เกิดขึ้นเริ่ม
             ส่งผลเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน  แต่แนวคิดหลักที่ใช้ในการสร้างคนรุ่นใหม่ยังคงยึดหลักการเรียนรู้

             ท่ามกลางการปฏิบัติ  โดยเฉพาะการเรียนรู้จากพื้นที่  ยังมีความสำคัญกับคนรุ่นใหม่  โดยเฉพาะพื้นที่ที่มี
             รูปธรรมปัญหาชัดเจน  โดยเชื่อว่าการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กันระหว่าง  “การคิด”  กับ  “การปฏิบัติ”  ที่แนวคิด
             สายมาร์กซิสเรียกว่า  praxis  คือ  ลักษณะวิภาษวิธีของการคิดและการปฏิบัติ  ที่สนับสนุนวิธีการคิดให้
             ปฏิบัติได้ และในการปฏิบัติต้องมีความคิด ซึ่งฮาร์เบอร์มาสได้อธิบายเชื่อมโยงถึงการเรียนรู้ของมนุษย์ว่า
             ความสามารถที่มนุษย์จะมีเสรีภาพได้นั้นขึ้นอยู่กับการส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและเชื่อมโยง

             ภาคปฏิบัติไปพร้อมๆกัน (กาญจนา แก้วเทพและสมสุข หินวิมาน. 2553)
                      การลงพื้นที่เพื่อสัมผัสสภาพปัญหาจริงของคนชายขอบของสังคม  เรียนรู้ชีวิตและทำความ
             เข้าใจกระบวนการทำงานของกลุ่มคนเล็กๆในสังคม  ได้ทดลองแก้ไขปัญหา  เช่น  ทดลองออกแบบการ

             รณรงค์บนรถไฟของกลุ่มเมล็ดพันธุ์สันติวิถี  หรือการทดลองปฏิบัติการร่วมกับชาวบ้านในชุมชนของกลุ่ม
             เผยแพร่กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม  (กลุ่มดาวดิน)  ช่วยสร้างความเข้าใจให้กับผู้เข้าร่วม
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80