Page 70 -
P. 70
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
64 วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
ละคร สร้างเรื่อง รู้ชีวิต ระยะเวลาค่ายละ 3 วัน โดยจัดขึ้น ภูมิภาคละ 1 ค่ายใน 4 ภูมิภาค เพื่อปรับ
ทัศนคติเรื่องการทำละครร่วมกันระหว่างผู้เข้าร่วมทุกคนและปูพื้นฐานศิลปะการละครเพื่อพัฒนาสู่บท
ละครสะท้อนปัญญาที่สอดคล้องกับตนเองและชุมชน ช่วงที่ 2 ค่ายเทคนิคการสร้างละครเพื่อการ
เปลี่ยนแปลง เพื่อวางรากฐานนักการละคร มีระยะเวลาค่ายละ 5 วัน โดยจัดใน 4 ภูมิภาค ช่วงที่ 3
เป็นการผลิตละคร โดยมีทีมวิทยากรเป็นพี่เลี้ยงติดตามผลการทำงาน เพื่อให้คำแนะนำในกระบวนการ
ผลิตละคร ช่วงที่ 4 เป็นช่วงของการจัดแสดงผลงาน เทศกาลละครเพื่อการเปลี่ยนแปลง 4 ครั้ง ใน 4
ภูมิภาค ช่วงที่ 5 ค่ายสรุปบทเรียน เป็นค่ายสุดท้ายของกระบวนการ เพื่อถอดบทเรียนผลการดำเนินงาน
ในการผลิตละครของกลุ่มเยาวชน ช่วงที่ 6 ค่ายต่อเนื่องจากโครงการละครเพื่อการเปลี่ยนแปลง เป็นการ
จัดอบรมสำหรับนักละครรุ่นใหม่สนใจการทำละครให้ต่อเนื่อง เพื่อร่วมกระบวนการอีก 9 วัน เพื่อเรียนรู้
กระทำละครอย่างเข้มข้น ได้ทดลองฝึกทำละครเพื่อใช้แสดงจริงในชุมชน
กรณีศึกษาที่ 3 โครงการค่ายเมล็ดพันธุ์สันติวิถี ได้รับการสนับสนุนการจัดกิจกรรมจากศูนย์
ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล มีระยะเวลาในการจัดค่ายแต่ละรุ่น 30 วัน เพื่อเปิดพื้นที่ให้
เยาวชนทุกภาคของประเทศได้มีโอกาสเรียนรู้สันติวิธีผ่านกระบวนการ โดยเน้นการรู้จักและเข้าใจตนเอง
ในระดับปัจเจก กระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้าใจธรรมชาติของความแตกต่างหลากหลายทาง
ชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนา ความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรม การเรียนรู้โครงสร้างสังคม ความขัดแย้ง
ความรุนแรง และการสร้างสันติภาพ โดยผู้เข้าร่วมโครงการคือเยาวชนจากพื้นที่ที่มีสถานการณ์ความ
ขัดแย้งหรือได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนา เช่น เยาวชนจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มเด็กชา
ติพันธุ์ กลุ่มเยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากเหมืองคลิตี้ เป็นต้น
กรณีศึกษาที่ 4 กลุ่มเผยแพร่กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม (ดาวดิน) เป็นการรวมกลุ่ม
ของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่มีความสนใจทำกิจกรรมทางสังคมเมื่อพ.ศ. 2547
โดยมีนักศึกษารุ่นพี่เป็นผู้จัดกระบวนการ และผู้เข้าร่วมกระบวนการคือนักศึกษารุ่นน้องในคณะ เน้น
สร้างการเรียนรู้ให้กับตนเอง กลุ่ม เพื่อน และรุ่นน้องนักศึกษา ทั้งการลงพื้นที่ปากมูล พื้นที่กรณีเหมือง
แร่โปแตส จังหวัดอุดรธานี หรือพื้นที่ชุมชนแออัดในจังหวัดขอนแก่น และพัฒนาสู่ค่ายเพื่อสร้างการเรียน
รู้กับรุ่นน้องในคณะภายใต้ชื่อ “ค่ายนิติศาสตร์เรียนรู้สังคม” และยังคงทำกิจกรรมมาอย่างต่อเนื่องทั้งใน
และนอกรั้วมหาวิทยาลัย
กรณีศึกษาที่ 5 กลุ่มลูกชาวบ้าน มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นกลุ่มนักศึกษาที่รวมกลุ่มจาก
หลากหลายคณะ มีนักศึกษารุ่นพี่เป็นผู้จัดกระบวนการ และผู้เข้าร่วมกระบวนการคือนักศึกษารุ่นน้อง
ที่มาจากหลายคณะในมหาวิทยาลัย เพื่อทำกิจกรรมทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย ร่วมกับชุมชนในพื้นที่
ภาคตะวันออก มีระยะเวลาในการรวมกลุ่มประมาณ 4 ปี และมีกิจกรรมเรียนรู้ชุมชน ร่วมกิจกรรมกับ
ชาวประมงพื้นบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการอุตสาหกรรมมาบตาพุด หรือการร่วมเคลื่อนไหวเพื่อ
คัดค้าน ม.นอกระบบ เป็นต้น
วิธีการศึกษาในบทความนี้ใช้การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์ผู้จัด
กระบวนการหรือที่ปรึกษาของโครงการหรือองค์กรที่ทำหน้าที่จัดกระบวนการเรียนรู้ และสัมภาษณ์กลุ่ม
คนรุ่นใหม่ที่เข้าร่วมกระบวนการ รวมทั้งสิ้น 20 คน