Page 73 -
P. 73
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปีที่ 41 ฉบับที่ 2 67
เป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยให้ผู้เข้าร่วมฯได้แสดงความคิดเห็นและได้ร่วมคิดค้นวิธีการเพื่อหา
ทางออกร่วมกันในกรณีที่เกิดปัญหาขึ้นในระหว่างกิจกรรมหรือภายหลังการจัดกิจกรรม รวมถึงการเปิด
โอกาสให้ผู้เข้าร่วมฯได้สะท้อนกิจกรรมและร่วมออกแบบ โดยผู้จัดกระบวนการช่วยสร้างบรรยากาศให้
เหมาะสมกับการแลกเปลี่ยน
1.5 ระยะเวลาในการเรียนรู้มีความเหมาะสมกับเนื้อหา
การกำหนดระยะเวลาในการจัดกิจกรรม เพื่อให้สมาชิกเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ในระยะเวลาที่
เหมาะสม และสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของโครงการมีส่วนช่วยให้การเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายมีความ
ลึกซึ้งมากขึ้น จาก 3 กรณีศึกษา คือ โครงการละครเพื่อการเปลี่ยนแปลง โครงการค่ายเมล็ดพันธุ์สันติ
วิถี และโครงการพัฒนาคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม ที่ได้กำหนดระยะเวลาในการเข้าร่วม
กิจกรรมค่อนข้างนาน เมื่อเกิดจุดปะทะในระหว่างการจัดกระบวนการ สามารถร่วมออกแบบการแก้ไข
ปัญหาจนครบกระบวนการ ซึ่งช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ของกลุ่มผู้เข้าร่วมฯให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
1.6 พื้นที่ศึกษามีความท้าทายและแปลกใหม่
ความท้าทายและความแปลกใหม่ เป็นสิ่งสำคัญที่สร้างแรงดึงดูด และสร้างแรงบันดาลใจ
สนับสนุนการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน ซึ่งจากกรณีศึกษาพบว่าพื้นที่การเรียนรู้มีทั้งที่เป็นชุมชน
กลุ่มกิจกรรม และพื้นที่การสื่อสารกับสาธารณะ โดยการเตรียมพื้นที่การเรียนรู้มีความแตกต่างกันไป
กลุ่มทำงานกิจกรรมของนักศึกษาให้ความสำคัญกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในชุมชน ต้องการความเป็น
ธรรมชาติของชุมชน ไม่ต้องมีการเตรียมการเพื่อรองรับการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายแต่เลือกที่จะให้กลุ่ม
เป้าหมายไปเผชิญความจริงที่เกิดขึ้น และสามารถวิเคราะห์เชื่อมโยงสิ่งที่พบกับโครงสร้างทางสังคมได้
จากทั้ง 5 กรณีศึกษาพบว่า มีกิจกรรมที่ท้าทาย สำหรับผู้เข้าร่วมกระบวนการมีทั้งการเรียนรู้
ในพื้นที่ชุมชนที่แปลกใหม่ เช่น กลุ่มคนไร้บ้าน ชาวบ้านดาระอั้ง ชุมชนคลิตี้ล่าง เป็นต้น หรือการสร้าง
การเรียนรู้ในพื้นที่วัฒนธรรมที่แตกต่าง ทั้งเรื่องภาษา วัฒนธรรม เชื้อชาติ เช่น การศึกษาเรียนรู้ใน
ประเทศเพื่อนบ้าน ในกัมพูชา พม่า เป็นต้น หรือการเพิ่มทักษะการเรียนรู้ที่น่าสนใจและท้าทายสำหรับคน
รุ่นใหม่ ในการจัดทำสื่อ ให้เหมาะสมกับยุคสมัยทั้งการทำหนังสั้น สารคดี ละคร เป็นต้น
1.7 ผู้จัดกระบวนการ
ผู้จัดกระบวนการในระดับปัจเจกมีทัศนคติเชิงบวกในการทำงานพัฒนาคนรุ่นใหม่ ใจเย็นกับ
การเรียนรู้และการเติบโตของผู้เข้าร่วมกระบวนการ เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีความเข้าใจคนรุ่นใหม่ใน
บริบทสังคมปัจจุบัน พร้อมที่จะแลกเปลี่ยนกับคนรุ่นใหม่ได้ทุกเรื่อง และให้ความสำคัญกับทุกคน อีกทั้ง
การมีข้อมูล ความรู้ที่หลากหลายในเชิงแนวคิด ทฤษฎีเพื่อใช้ในการทำงาน เช่น แนวคิดการจัดการความ
ขัดแย้ง สันติวิธี การมีส่วนร่วม การทำงานพัฒนา การจัดการอำนาจ เป็นต้น รวมถึงความรู้ที่จำเป็นเพื่อ
แลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมกระบวนการทั้งในเชิงมานุษยวิทยา ชาติพันธุ์ ประวัติศาสตร์ หรือการ
เปลี่ยนแปลงทางสังคม จะช่วยส่งเสริมกระบวนการแลกเปลี่ยนและช่วยยกระดับการวิเคราะห์สังคมของ
ผู้เข้าร่วมกระบวนการด้วย
จากทั้ง 5 กรณีศึกษาพบว่า ผู้จัดกระบวนการมีทักษะและเครื่องมือในการจัดกระบวนการที่
สามารถหยิบใช้ได้ในระหว่างการดำเนินกิจกรรม มีทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ระมัดระวังการใช้ชุด