Page 74 -
P. 74
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
68 วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
ความคิดเดิมของตนมาอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นกับคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน มีลักษณะช่างสังเกต คอยตั้งคำถาม
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมฯช่วยกันหาคำตอบโดยใช้กระบวนการกลุ่ม มีการทบทวนการทำงาน และฝึกฝนตนเอง
ไปพร้อมกับผู้เข้าร่วมกระบวนการอย่างต่อเนื่อง
1.8 มีกลไกสนับสนุน
ข้อมูลจากทั้ง 5 กรณีศึกษา พบว่าการสร้างกลไกติดตามพัฒนาการของผู้เข้าร่วมกระบวนการ
จะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เข้าร่วมฯ โดยจะเห็นได้ชัดเจนในกลุ่มทำงานนักศึกษา โครงการพัฒนา
คนรุ่นใหม่ฯ และโครงการละครเพื่อการเปลี่ยนแปลง ที่พี่เลี้ยงหรือผู้จัดกระบวนการมีการติดตามเป็น
รายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม ซึ่งการติดตามผู้เข้าร่วมได้ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจให้
ชัดเจนภายหลังการเข้าร่วมกระบวนการ หรือช่วยคลี่คลายปัญหา อีกทั้งบทบาทของกลไกสนับสนุนการ
ทำงานในรูปแบบองค์กรภาคีต่างๆที่มีในแต่ละภูมิภาคยังช่วยหนุนเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่
ในพื้นที่
อย่างไรก็ตาม รูปแบบ กระบวนการและวิธีการข้างต้น ต้องดำเนินไปพร้อมๆกันไม่มีสิ่งใดแยก
จากกันอย่างเด็ดขาด การออกแบบกระบวนการสร้างคนรุ่นใหม่ในบริบทปัจจุบัน เป็นการทำงานเชิงระบบ
ที่ทุกส่วนมีความสำคัญเท่ากัน ให้คุณค่ากับทุกกิจกรรมและทุกองค์ประกอบของการทำงาน
2 แนวคิดหรือหลักการสำคัญในการทำงานพัฒนาคนรุ่นใหม่
จากการทบทวนงานศึกษาที่ผ่านมาช่วยสะท้อนให้เห็นว่าการออกแบบกระบวนการเรียนรู้
สำหรับเยาวชนนั้นไม่ได้สร้างขึ้นมาลอยๆ แต่ผ่านการทบทวนแนวคิด ทฤษฎีการศึกษา การถอดบทเรียน
ของผู้ออกแบบกระบวนการ เช่น งานวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนของ
จุฑารัตน์ คชรัตน์ (2554) ที่ใช้แนวคิดนีโอฮิวแมนนิส ในการพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับ
เยาวชน หรือจากทั้ง 5 กรณีศึกษา พบว่าการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายนั้น มีความคิด
ความเชื่อ ที่อยู่เบื้องหลังการทำงานของผู้ออกแบบกระบวนการ ซึ่งไม่ได้ใช้แบบใดเพียงแบบเดียว แต่มี
หลักคิดสำคัญเชื่อมโยงถึงกัน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมในโครงการได้เกิดการปรับเปลี่ยนวิธีคิด
และการทำงานเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการศึกษาพบว่าแนวคิด สำคัญในการ
สร้างคนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบันมีดังนี้
2.1 การศึกษาทางตรง
จากทั้ง 5 กรณีศึกษา พบว่าทุกกลุ่มทำงานภายใต้กระบวนทัศน์ใหม่โดยเน้นการศึกษาทางตรง
(direct education) ที่เชื่อในการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลว่ามีความแตกต่างกัน การจัดกระบวนการเรียน
รู้จึงต้องมีความหลากหลายเพื่อรองรับความแตกต่างของผู้เข้าร่วมฯ โดยในกระบวนทัศน์เรื่องการศึกษา
ทางตรงให้ความสำคัญกับการทดลองปฏิบัติ มีกิจกรรมที่สร้างความท้าทายใหม่ให้กับผู้เข้าร่วมฯอยู่เสมอ
ทั้งการจัดการความขัดแย้ง การทดลองออกแบบกระบวนการดีเบต หรือการให้เผชิญกับปัญหาด้วย
ตนเอง
อีกทั้งกิจกรรมที่จัดในโครงการส่วนใหญ่เน้นการสร้างความเข้าใจเรื่องความแตกต่าง
หลากหลาย สนับสนุนให้เกิดการตั้งคำถามเพื่อให้เกิดการปะทะชุดความคิดเดิมหรือปะทะตัวตนจากข้างใน